'Moral Hazard' ตามพจนานุกรมศัพท์ประกันภัย อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2540 แปลความหมายว่า 'ภาวะภัยทางศีลธรรม' หรือที่นักเศรษฐศาสตร์บางท่านแปลเป็นไทยว่า 'จริยวิบัติ' โดยได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกๆในงานของ McKinnon and Pill (1996) ซึ่งมีเนื้อหานิยามถึง 'พฤติกรรมเบี่ยงเบน' ของคน ที่มีลักษณะไปในทางที่ไม่ดีหรือสร้างความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังจากเข้าไปอยู่ในโครงการใดโครงการหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ ขับรถเสี่ยงอันตรายมากขึ้น เพราะเชื่อว่าตนจะได้รับการคุ้มครองจากกรมธรรม์ หรือผู้บริหารในองค์กรรัฐวิสาหกิจ จะนำธุรกิจของตนลงแข่งในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเชื่อว่า เมื่อเกิดปัญหา จะยังได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นต้น
ขณะที่ในประเทศไทย Moral Hazard กลายเป็นหัวข้อสนทนา ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 1997 โดยเฉพาะภายหลังต้องปฏิบัติตามแนวทางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ที่บังคับไม่ให้ภาครัฐเข้าแทรงแซง ช่วยเหลือสถาบันการเงินหรือธุรกิจเอกชนใดๆที่มีปัญหา เนื่องจากเกรงว่าอาจกลายเป็นต้นเหตุของ 'จริยวิบัติ' โดยเป็นตัวอย่างให้บริษัทอื่นๆ บริหารจัดการองค์กรในความเสี่ยง อย่างไม่กลัวล้มละลาย เนื่องจากเมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้น รัฐก็จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
แต่ผลของมาตรการจากไอเอ็มเอฟ ที่พยายามสร้างช่องว่างระหว่างรัฐและเอกชน กลับสร้างปัญหาใหม่เช่น กรณีที่สถาบันการเงินของไทย 56 สถาบันต้องปิดกิจการ แต่ไม่สามารถประนอมหนี้กับลูกหนี้ได้ และถ้าจะขาย ก็จำเป็นต้องขายในรูปแบบการประมูล ซึ่งจำกัดสิทธิของกลุ่มลูกหนี้ หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ที่รัฐจัดตั้งขึ้นมา
เนื่องจากไอเอ็มเอฟมองว่า การเข้าแทรกแซงทั้งการเจรจาประนอมหนี้ หรือเข้าร่วมประมูลของลูกหนี้และบสท. จะทำให้ไม่ทราบ 'ราคาตลาดที่แท้จริง'
ท้ายที่สุด ผลของการขายประมูลทรัพย์สินสถาบันการเงินทั้งหมดกว่า 800,000 ล้านบาท จึงได้คืนกลับมาเป็นเม็ดเงินไม่ถึงร้อยละ 30 และหลังจากนั้น ผู้ที่ประมูลได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอกชนต่างชาติ ก็นำมาขายต่ออีกทอดให้กับลูกหนี้ ซึ่งกรณีนี้ไม่ถือเป็น 'จริยวิบัติ' เนื่องจากเอกชนเป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้มาจากทางราชการ
ในขณะที่กลุ่มประเทศโลกตะวันตกโดยมาก ยามเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ภาครัฐมักจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุด ในการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย รวมถึงปัญหาการปรับโครงสร้างธนาคาร โดยการกระทำที่เกิดขึ้น กลับไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็น 'จริยวิบัติ'
ส่งผลให้ในการประชุมสภาผู้ว่าการของธนาคารโลก และกองทุนระหว่างประเทศ เมื่อปี 2002 ไอเอ็มเอฟได้ออกมากล่าวยอมรับความผิดพลาด รวมถึงเสนอให้การแก้ไขปัญหาด้านการเงินในอนาคต ต้องเพิ่มความยืดหยุ่นในการให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ของสถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์ ก็มีประเด็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับ 'จริยวิบัติ' นี้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะความจำเป็นที่ภาครัฐควรนำเงินเข้าไปอุดหนุนหรือช่วยเหลือสถาบันการเงินเพื่อคนจน ด้วยเจตนาดีหวังสร้างโอกาสให้ 'ทุน' สามารถตกไปถึงมือของคนยากไร้ในวงที่กว้างขึ้น 'หรือไม่?'
แต่ความเป็นจริงของการนำเม็ดเงินอุดหนุนลงไปในสถาบันการเงินเหล่านี้ อาจส่งผลให้เกิดความสุ่มเสี่ยงของ 'Moral Hazard' หรือสถานการณ์ที่ประชาชนจะถูก 'บิดเบือน' ความคิด ว่า 'ทุน' ที่ตัวเองได้รับมานั้น คือ 'เงินให้เปล่า' จากทางภาครัฐ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการนำเงินไป 'ใช้จ่าย' โดยไม่คิดถึงวิธีการหาทาง 'ใช้คืน'
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดปัญหาที่เรียกว่า 'จริยวิบัติ' ขึ้นในสังคมไหนแล้ว ค่านิยมที่ถูกสร้างขึ้น จะนำมาซึ่งการชะงักงันของ 'การพัฒนา' เมื่อประชาชนต่างรอคอยเพียงความช่วยเหลือจากทางราชการ
ขณะเดียวกับที่การให้ทุนในธุรกิจเพื่อคนยากไร้ อาจถูกทำลายพันธกิจ 'เพื่อสังคม' ไปเป็นเพียง 'เครื่องมือ' หาเสียง ที่นักการเมืองไร้ความรับผิดชอบหลายคนชอบใจ เพราะได้ผล 'เร็ว' และ 'แรง' แต่แทบจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมระยะยาว
ดังนั้นการลงทุนใน 'คน' ของสถาบันการเงินเพื่อผู้ยากไร้ จึงจำเป็นต้องมีนโยบายเกี่ยวกับการกำกับแนวทางของตัวเอง ในลักษณะธุรกิจที่หวังผลกำไร และพยายามหลีกเลี่ยงเม็ดเงินบริจาคจากทางภาครัฐ หรือหน่วยงานองค์กรการกุศล ซึ่งอาจก่อให้เกิดทัศนคติของประชาชนที่ผิดเพี้ยน ดังที่ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส บิดาแห่งสถาบันไมโครไฟแนนซ์ เคยกล่าวถึงข้อควรระวังนี้เอาไว้
Moral Hazard หรือจริยวิบัติ จึงเป็นเรื่องของ 'วิสัยทัศน์' ว่ากลุ่มผู้บริหารประเทศหรือองค์กรต่างๆ จะสามารถเข้าใจวิกฤติปัญหา และนำ 'ยา' มาใช้ได้ถูกกับ 'โรค' ที่ตัวเองกำลังเผชิญได้ถูกต้องแม่นยำขนาดไหน ไม่เช่นนั้นก็คงจำเป็นต้องทำใจกับการจ่าย 'ค่าโง่' ซึ่งอาจจะเป็น 'เงิน' หรือ 'คน' อยู่ร่ำไป
โดยที่กล่าวว่าต้อง 'ทำใจ' นี้ ไม่ได้หมายถึงใคร หากแต่เป็นประชาชนตาดำๆ อย่างเราๆท่านๆนี่เอง
J
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554
นิทานจากยุโรป
ภาพความเป็นรัฐสวัสดิการของกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังสั่นคลอน เมื่อกลุ่มรัฐบาลไล่ตั้งแต่ประเทศอังกฤษ ไปจนถึงประเทศบัลแกเรีย กำลังดำเนินนโยบายปรับลดงบประมาณในส่วนของสวัสดิการสังคมต่างๆที่รัฐกำลังแบกรับ เพื่อนำเม็ดเงินส่วนนั้นกลับไปใช้ในการปฏิรูปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จากการที่อียูต้องสูญเงินจำนวนมหาศาล หลังตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ล้มตัวลงไปเมื่อปี 2008
แต่การที่รัฐต้องการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงอย่างประชาชน ต้องออกมา 'พูด' ในสิ่งที่พวกเขากำลังคิดอยู่บ้าง การรวมตัวกันประท้วงของประชาชนทั้งในกรีซ, ฝรั่งเศษ และเบลเยี่ยม เมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา คือตัวอย่างของกลุ่มคนที่ต้องการเรียกร้องเพื่อคืนสิทธิที่ทุกคนต่างเชื่อว่า ตัวเองพึงมีพึงได้ อย่างกรณีของการประท้วงขึ้นค่าเทอมในประเทศอังกฤษก็เช่นกัน
ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์หลายฝ่าย กลับเห็นด้วยกับนโยบายปรับลดงบประมาณลักษณะนี้ โดยเชื่อว่า แม้การดำเนินนโยบายชูความเป็นรัฐสวัสดิการ จะเป็นจุดแข็งของกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป แต่การทุ่มเม็ดเงินลงไปเพื่อช่วยเหลือดูแลประชาชนนั้น สร้างความไม่มั่นคงให้แก่รัฐ โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่ทำให้คนคอยหวังเพียงความช่วยเหลือที่รัฐจะมาป้อนให้ จึงสมควรแล้ว ที่จะถูกรื้อถอนออกไป
ความต้องการที่สวนทางกันของประชาชนผู้คิดรักษาผลประโยชน์ที่ตัวเองเคยได้รับ กับการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่ต้องการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับสถานการณ์ในสหภาพยุโรปต่อจากนี้ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยมีแง่มุมให้เราได้คิดเล็กๆว่า บางครั้งการปกครอง 'โดย' ประชาชน อาจไม่ได้หมายถึง 'เพื่อ' ประชาชน ขณะที่การปกครอง 'เพื่อ' ประชาชน อาจไม่ได้มีความหมายเดียวกับ 'โดย' ประชาชน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหาร และวิสัยทัศน์ของประชาชนเองว่า ต่างพยายามที่จะมองปัญหาจาก 'คนละจุด' กับที่ตัวเองยืนได้เข้าใจขนาดไหน
เพราะถ้าต่างคนต่างเอาแต่มองจากฟากของตัวเอง ใครๆก็คงจะพอ 'เดา' ออกว่า สถานการณ์ต่อไปจะเป็นเช่นไร
J
แต่การที่รัฐต้องการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรงอย่างประชาชน ต้องออกมา 'พูด' ในสิ่งที่พวกเขากำลังคิดอยู่บ้าง การรวมตัวกันประท้วงของประชาชนทั้งในกรีซ, ฝรั่งเศษ และเบลเยี่ยม เมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา คือตัวอย่างของกลุ่มคนที่ต้องการเรียกร้องเพื่อคืนสิทธิที่ทุกคนต่างเชื่อว่า ตัวเองพึงมีพึงได้ อย่างกรณีของการประท้วงขึ้นค่าเทอมในประเทศอังกฤษก็เช่นกัน
ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์หลายฝ่าย กลับเห็นด้วยกับนโยบายปรับลดงบประมาณลักษณะนี้ โดยเชื่อว่า แม้การดำเนินนโยบายชูความเป็นรัฐสวัสดิการ จะเป็นจุดแข็งของกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป แต่การทุ่มเม็ดเงินลงไปเพื่อช่วยเหลือดูแลประชาชนนั้น สร้างความไม่มั่นคงให้แก่รัฐ โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่ทำให้คนคอยหวังเพียงความช่วยเหลือที่รัฐจะมาป้อนให้ จึงสมควรแล้ว ที่จะถูกรื้อถอนออกไป
ความต้องการที่สวนทางกันของประชาชนผู้คิดรักษาผลประโยชน์ที่ตัวเองเคยได้รับ กับการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่ต้องการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับสถานการณ์ในสหภาพยุโรปต่อจากนี้ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยมีแง่มุมให้เราได้คิดเล็กๆว่า บางครั้งการปกครอง 'โดย' ประชาชน อาจไม่ได้หมายถึง 'เพื่อ' ประชาชน ขณะที่การปกครอง 'เพื่อ' ประชาชน อาจไม่ได้มีความหมายเดียวกับ 'โดย' ประชาชน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหาร และวิสัยทัศน์ของประชาชนเองว่า ต่างพยายามที่จะมองปัญหาจาก 'คนละจุด' กับที่ตัวเองยืนได้เข้าใจขนาดไหน
เพราะถ้าต่างคนต่างเอาแต่มองจากฟากของตัวเอง ใครๆก็คงจะพอ 'เดา' ออกว่า สถานการณ์ต่อไปจะเป็นเช่นไร
J
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
วิถีทางที่ 'ต่าง' เพื่อผู้ยากไร้
ในงาน Clinton Global Initiative เมื่อราวปลายปีก่อน เกิดประเด็นถกเถียงข้อสำคัญขึ้นในวงการไมโครไฟแนนซ์ หรือธุรกิจสถาบันการเงินเพื่อผู้ยากไร้ ระหว่างศาสตราจารย์โมฮัมหมัด ยูนุส บิดาแห่งแนวคิดธุรกิจธนาคารเพื่อสังคม ผู้ก่อตั้ง 'ธนาคารกรามีน' ธนาคารสำหรับคนยากจนแห่งแรกในโลก กับนายวิกรัม อาคุร่า อดีตที่ปรึกษาด้านการเงิน ผู้หันมาทำงานก่อตั้งธนาคารเพื่อคนยากไร้ ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในอินเดีย หรือ เอสเคเอส
แม้ทั้งกรามีนและเอสเคเอส จะมีเป้าหมายร่วมกัน ในการเป็น 'ธุรกิจเพื่อสังคม' แต่วิธีการของเอสเคเอสที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น ก็นำมาซึ่งข้อถกเถียงในวงการไมโครไฟแนนซ์ โดยมีประเด็นสำคัญคือ 'ความเสี่ยงจากธุรกิจเพื่อสังคมจะเกิดการ 'ไหล' จนกลายไปเป็นธุรกิจที่หวังผลกำไรสูงสุด เมื่อมีการจดทะเบียนในตลาดทุนกระแสหลักหรือไม่?'
โดยศาสตราจารย์ ยูนุส แห่งธนาคารกรามีน เชื่อว่า ตลาดหุ้น หรือตลาดทุนในกระแสหลักปัจจุบัน ที่มองเรื่อง 'ตัวเลขกำไร' เป็นที่ตั้ง จะบิดเบือนพันธกิจของการทำหน้าที่เพื่อสังคมของเอสเคเอสไป
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในองค์กร ไม่มีหลักประกันใดๆจะยืนยันได้ว่า ผู้บริหารกลุ่มใหม่ที่เข้ามา จะไม่นำตัวเลขผลประกอบการของตน ไปเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ และจะสร้าง 'แรงกดดัน' ให้เอสเคเอส ต้องปรับตัวเพื่อผลกำไร จนนำมาซึ่ง การเบียดเบียนและสร้างภาระให้กับคนจนผู้กู้
ดังนั้นแนวทางของการระดมทุนสำหรับ 'กลุ่มองค์กรไมโครไฟแนนซ์' ไม่ใช่กระโจนเข้าหาตลาดทุนทั่วไป แต่ต้องหาช่องทางที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่นควรมี 'ตลาดทุน' แบบพิเศษ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นเพื่อสังคมโดยเฉพาะ อันจะทำให้นักลงทุนต่างๆที่คิดจะเข้ามาแสวงหากำไรในตลาดนี้ ตระหนักได้ตั้งแต่ต้นว่า ธุรกิจเหล่านี้ มีภารกิจหลักคือการทำงานเพื่อสังคม และไม่ควรหวังผลประกอบการในลักษณะที่สูงเช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดทั่วไป
ขณะที่เอสเคเอส ของนายวิกรัม อาคุร่า หลังปี 2005 ที่เดินเข้าสู่วงการตลาดหุ้น ส่งให้พวกเขาเติบโต จนกลายไปเป็นไมโครเครดิตระดับมหาเศรษฐี ที่มีฐานะเป็นผู้จ่ายภาษีลำดับที่ 9 ของประเทศอินเดีย
โดยนายวิกรัม อาคุร่า เชื่อว่า ในระบบการเงินของโลกปัจจุบัน ตลาดทุนและกลไกตลาด สามารถพัฒนาตัวเองไปจนมีประสิทธิภาพสูงมากพออยู่แล้ว และรูปแบบวิธีการทำงานภายในองค์กรที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ก็น่าจะเป็นส่วนที่ช่วยผสมผสานให้ กลุ่มไมโครไฟแนนซ์ กลายเป็นช่องทางทำ 'ธุรกิจ' ที่มีอนาคต อันจะนำมาซึ่งโอกาสที่จะเปิดให้ 'คนจน' เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากขึ้น ซึ่งถือเป็น 'เป้าหมาย' ดั้งเดิมของการทำธุรกิจประเภทนี้
โดยเฉพาะความสำเร็จในการเจริญเติบโตของเอสเคเอส เป็นข้อพิสูจน์ที่นายอาคุร่า พยายามแสดงให้เห็นว่า การสร้างกำไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น และการช่วยเหลือคนยากไร้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเกิดขึ้นได้ 'พร้อมๆกัน'
อาจเป็นเพราะ เบื้องหลังประสบการณ์ของสองนักคิดเพื่อสังคมที่แตกต่าง ทำให้ 'วิธีการ' ของสององค์กรเดินแยกจากกัน โดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส เริ่มต้นจากอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้ตกผลึกสำนึกในจิตสาธารณะเพื่อผู้ยากไร้ จึงกระโดดลงไปในวงการธุรกิจ
ขณะที่นายวิกรัม อาคุร่า เห็นช่องทางการช่วยเหลือคนยากไร้ หลังจากทำงานในฐานะที่ปรึกษาด้านการเงิน จึงหวังนำธุรกิจและกลไกตลาดที่ตัวเองเชี่ยวชาญ มาปรับใช้และหวังเข้าช่วยเหลือพัฒนาสังคม
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรากำลังจะเห็นและเป็นไปในข้อสรุปของประเด็นถกเถียง ย่อมส่งผลทางใดทางหนึ่งต่อทิศทางของวงการไมโครไฟแนนซ์ระดับโลก ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทย ที่ความจำเป็นของการมีธนาคารเพื่อผู้ยากไร้ 'ที่แท้จริง' ยังมีอยู่ในระดับสูง
ขณะที่การติดตามรับฟังประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับความ 'ขัดแย้ง' ในการหาวิธี 'ลงมือ' ทำงานเพื่อสังคม ก็น่าจะฟังรื่นหูดีกว่า 'วาทกรรมสามัคคี' ที่เราคุ้นชินกันมากนัก
เอื้อเฟื้อข้อมูล อ.สฤณี อาชวานันทกุล
J
ที่มาของ 'กรามีน' ธนาคารคนจน
ธนาคาร 'กรามีน' อาจไม่ใช่ชื่อที่คุ้นหูคนไทยนัก แต่ถ้าเป็นในบังกลาเทศ ธนาคารนี้ คือชื่อที่เปรียบดังแสงสว่างของคนจนนับล้านคน
'กรามีน' เกิดจากสำนึกต่อการรับใช้สังคมของ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ ผู้คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานการก่อตั้งธนาคารกรามีน 'ธนาคารเพื่อผู้ยากไร้แห่งแรกของโลก'
ศาสตราจารย์ยูนุสเชื่อว่า คนจนควรมีสิทธิทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นเดียวกับคนในชนชั้นอื่นๆ ขณะเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์จะยอมปล่อยเงินกู้ออกมา ในกรณีที่ผู้กู้สามารถแสดงหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตามข้อกำหนดของธนาคารเท่านั้น ซึ่งจาก 'ข้อกำหนด' ของธนาคาร กลายมาเป็น 'ข้อจำกัด' ของคนยากจน และส่งผลให้เกิดช่องทางของธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า 'การกู้นอกระบบ' ที่ตามมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยมหาโหด
ยูนุสตระหนักถึงความจำเป็นต่อวัฒนธรรมการกู้ของคนจน โดยเชื่อว่า 'เงินกู้เป็นความหวังสุดท้ายของผู้ยากไร้ที่สุดของสังคมที่ไม่มีทางเลือกอื่น' จึงพยายามร้องขอให้ธนาคารในบังกลาเทศ เปิดบริการสินเชื่อเพื่อผู้ยากไร้ และหวังให้ธนาคารเชื่อมั่นในศักยภาพของคนจน
โดยหลักประกันชั้นดีที่แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านี้จะไม่ทำให้หนี้สูญ ก็คือการที่พวกเขา 'ยังมีชีวิตอยู่รอดได้จนถึงทุกวันนี้' ขณะเดียวกับเงินที่ได้มาจากการกู้ยืม จะกลายเป็นที่พึ่งสำคัญแห่งสุดท้าย ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ต้องหันกลับไปหาเจ้าหนี้นอกระบบอีก ดังนั้นการ ’เบี้ยว’ หนี้ จึงยากที่จะเกิดขึ้น นอกเสียจากคนเหล่านั้นจะ ‘ไม่มี’ จริงๆ
แต่สุดท้าย ธนาคารในบังกลาเทศ ก็ยินยอมเพียงการปล่อยกู้ให้คนจนผ่านทางยูนุสในฐานะคนค้ำประกัน ซึ่งวิธีนี้ กลับสร้างความยุ่งยากให้กับตัวยูนุสเอง ที่ต้องไล่เซ็นเอกสารทุกใบ เนื่องจากธนาคารไม่ยอมติดต่อกับผู้กู้โดยตรง ทำให้ในที่สุด ยูนุสจึงเลิกหวังพึ่งพาระบบธนาคารพาณิชย์ และเริ่มก่อตั้ง 'ธนาคารกรามีน' แห่งแรก ในปี 1977 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านตากา หรือราว 50 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ศาสตราจารย์ยูนุส วางระบบของกรามีน ในลักษณะ 'ธุรกิจที่หวังผลกำไร' แต่มี 'เป้าหมายเพื่อสังคม' โดยหลีกเลี่ยงการจัดรูปแบบองค์กรในลักษณะการกุศล เนื่องจากมองว่าการสนับสนุนเงินในรูปแบบการบริจาค จะทำให้เกิดการบิดเบือนแรงจูงใจของลูกหนี้ โดยในกรณีที่เมื่อผู้กู้คิดไปว่าเงินที่ได้รับมานั้น เป็น 'เงินให้เปล่า' จะทำให้พวกเขานำเงินไป 'ใช้จ่าย' มากกว่านำไป 'ลงทุน' ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน เป้าหมายสูงสุดของกรามีนคือ 'สังคม' ไม่ใช่ 'ตัวเลขกำไร' ทำให้การบริการมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือคนจน โดยเฉพาะ 'ผู้หญิง' ในบังกลาเทศ ที่มักถูกกดขี่จากสถานะทางสังคม
โดยยูนุสต้องคิดค้นและพัฒนาวิธีการต่างๆ ทั้งการสร้างกระบวนการและกลไก ที่เอื้ออำนวยให้คนจนสามารถชำระหนี้ได้ เช่นการออกระบบอนุมัติเงินกู้แบบกลุ่ม โดยผู้กู้แต่ละคนมีหน้าที่ค้ำประกันซึ่งกันและกัน พร้อมกับใช้แรงกดดันทางสังคม เป็นแรงจูงใจให้ผู้กู้ชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพราะทุกคนต้องชำระหนี้จนหมด ก่อนจะกู้เงินก้อนต่อไปได้
ทั้งนี้ ถ้าลูกหนี้คืนเงินกู้ตรงเวลาและมีเงินออมจำนวนหนึ่ง ก็สามารถซื้อหุ้นของธนาคารได้ โดยยูนุสจะจำกัดสิทธิให้ผู้ถือหุ้นของธนาคาร ต้องเริ่มต้นมาจากการเป็นลูกหนี้ก่อนเท่านั้น ซึ่งทำให้ธนาคารกรามีน มีลักษณะเป็น 'ธนาคารของคนจน' อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ธนาคารกรามีน ยังมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาความสามารถให้ลูกหนี้ลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง รวมถึงสร้างทักษะการบริหารและวินัยทางการเงิน ทั้งการออกสินเชื่อการศึกษาดอกเบี้ยต่ำ หรือสินเชื่อการประมง รวมถึงออกข้อบังคับให้ลูกหนี้ออมเงินร้อยละ 5 ของเงินกู้ เพื่อเป็นกองทุนประกันชีวิต หรือกองทุนบำนาญต่างๆ
โดยยูนุชตั้งหลักวัด 'ดัชนีความจน' ในลักษณะที่ดูจากความต้องการพื้นฐานของชีวิต เช่น ต้องมีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ, น้ำดื่มที่สะอาด หรือมีเงินฝากออมอยู่ในธนาคาร การเป็นลูกหนี้ของธนาคารกรามีนจึงเป็นการสร้าง 'โอกาส' หลุดพ้นความจน มากกว่าเพียงการปล่อยเงินกู้
ปัจจุบัน ธนาคารกรามีน มีทรัพย์สินทั้งหมดจากการปิดยอดบัญชีเมื่อปี 2009 กว่า 103,000 ล้านตากา หรือประมาณ 46,000 ล้านบาท และมีสาขามากกว่า 2,500 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงให้บริการชาวบังกลาเทศเป็นจำนวนถึงเกือบ 8 ล้านคน โดยกว่าร้อยละ 97 เป็นผู้หญิง ขณะที่อัตราส่วนความเสี่ยงของหนี้เสียมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 4.39
'กรามีน' เกิดจากสำนึกต่อการรับใช้สังคมของ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ ผู้คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากผลงานการก่อตั้งธนาคารกรามีน 'ธนาคารเพื่อผู้ยากไร้แห่งแรกของโลก'
ศาสตราจารย์ยูนุสเชื่อว่า คนจนควรมีสิทธิทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นเดียวกับคนในชนชั้นอื่นๆ ขณะเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์จะยอมปล่อยเงินกู้ออกมา ในกรณีที่ผู้กู้สามารถแสดงหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตามข้อกำหนดของธนาคารเท่านั้น ซึ่งจาก 'ข้อกำหนด' ของธนาคาร กลายมาเป็น 'ข้อจำกัด' ของคนยากจน และส่งผลให้เกิดช่องทางของธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า 'การกู้นอกระบบ' ที่ตามมาพร้อมด้วยดอกเบี้ยมหาโหด
ยูนุสตระหนักถึงความจำเป็นต่อวัฒนธรรมการกู้ของคนจน โดยเชื่อว่า 'เงินกู้เป็นความหวังสุดท้ายของผู้ยากไร้ที่สุดของสังคมที่ไม่มีทางเลือกอื่น' จึงพยายามร้องขอให้ธนาคารในบังกลาเทศ เปิดบริการสินเชื่อเพื่อผู้ยากไร้ และหวังให้ธนาคารเชื่อมั่นในศักยภาพของคนจน
โดยหลักประกันชั้นดีที่แสดงให้เห็นว่า คนเหล่านี้จะไม่ทำให้หนี้สูญ ก็คือการที่พวกเขา 'ยังมีชีวิตอยู่รอดได้จนถึงทุกวันนี้' ขณะเดียวกับเงินที่ได้มาจากการกู้ยืม จะกลายเป็นที่พึ่งสำคัญแห่งสุดท้าย ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ต้องหันกลับไปหาเจ้าหนี้นอกระบบอีก ดังนั้นการ ’เบี้ยว’ หนี้ จึงยากที่จะเกิดขึ้น นอกเสียจากคนเหล่านั้นจะ ‘ไม่มี’ จริงๆ
แต่สุดท้าย ธนาคารในบังกลาเทศ ก็ยินยอมเพียงการปล่อยกู้ให้คนจนผ่านทางยูนุสในฐานะคนค้ำประกัน ซึ่งวิธีนี้ กลับสร้างความยุ่งยากให้กับตัวยูนุสเอง ที่ต้องไล่เซ็นเอกสารทุกใบ เนื่องจากธนาคารไม่ยอมติดต่อกับผู้กู้โดยตรง ทำให้ในที่สุด ยูนุสจึงเลิกหวังพึ่งพาระบบธนาคารพาณิชย์ และเริ่มก่อตั้ง 'ธนาคารกรามีน' แห่งแรก ในปี 1977 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านตากา หรือราว 50 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ศาสตราจารย์ยูนุส วางระบบของกรามีน ในลักษณะ 'ธุรกิจที่หวังผลกำไร' แต่มี 'เป้าหมายเพื่อสังคม' โดยหลีกเลี่ยงการจัดรูปแบบองค์กรในลักษณะการกุศล เนื่องจากมองว่าการสนับสนุนเงินในรูปแบบการบริจาค จะทำให้เกิดการบิดเบือนแรงจูงใจของลูกหนี้ โดยในกรณีที่เมื่อผู้กู้คิดไปว่าเงินที่ได้รับมานั้น เป็น 'เงินให้เปล่า' จะทำให้พวกเขานำเงินไป 'ใช้จ่าย' มากกว่านำไป 'ลงทุน' ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ขณะเดียวกัน เป้าหมายสูงสุดของกรามีนคือ 'สังคม' ไม่ใช่ 'ตัวเลขกำไร' ทำให้การบริการมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือคนจน โดยเฉพาะ 'ผู้หญิง' ในบังกลาเทศ ที่มักถูกกดขี่จากสถานะทางสังคม
โดยยูนุสต้องคิดค้นและพัฒนาวิธีการต่างๆ ทั้งการสร้างกระบวนการและกลไก ที่เอื้ออำนวยให้คนจนสามารถชำระหนี้ได้ เช่นการออกระบบอนุมัติเงินกู้แบบกลุ่ม โดยผู้กู้แต่ละคนมีหน้าที่ค้ำประกันซึ่งกันและกัน พร้อมกับใช้แรงกดดันทางสังคม เป็นแรงจูงใจให้ผู้กู้ชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพราะทุกคนต้องชำระหนี้จนหมด ก่อนจะกู้เงินก้อนต่อไปได้
ทั้งนี้ ถ้าลูกหนี้คืนเงินกู้ตรงเวลาและมีเงินออมจำนวนหนึ่ง ก็สามารถซื้อหุ้นของธนาคารได้ โดยยูนุสจะจำกัดสิทธิให้ผู้ถือหุ้นของธนาคาร ต้องเริ่มต้นมาจากการเป็นลูกหนี้ก่อนเท่านั้น ซึ่งทำให้ธนาคารกรามีน มีลักษณะเป็น 'ธนาคารของคนจน' อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ธนาคารกรามีน ยังมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาความสามารถให้ลูกหนี้ลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง รวมถึงสร้างทักษะการบริหารและวินัยทางการเงิน ทั้งการออกสินเชื่อการศึกษาดอกเบี้ยต่ำ หรือสินเชื่อการประมง รวมถึงออกข้อบังคับให้ลูกหนี้ออมเงินร้อยละ 5 ของเงินกู้ เพื่อเป็นกองทุนประกันชีวิต หรือกองทุนบำนาญต่างๆ
โดยยูนุชตั้งหลักวัด 'ดัชนีความจน' ในลักษณะที่ดูจากความต้องการพื้นฐานของชีวิต เช่น ต้องมีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ, น้ำดื่มที่สะอาด หรือมีเงินฝากออมอยู่ในธนาคาร การเป็นลูกหนี้ของธนาคารกรามีนจึงเป็นการสร้าง 'โอกาส' หลุดพ้นความจน มากกว่าเพียงการปล่อยเงินกู้
ปัจจุบัน ธนาคารกรามีน มีทรัพย์สินทั้งหมดจากการปิดยอดบัญชีเมื่อปี 2009 กว่า 103,000 ล้านตากา หรือประมาณ 46,000 ล้านบาท และมีสาขามากกว่า 2,500 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงให้บริการชาวบังกลาเทศเป็นจำนวนถึงเกือบ 8 ล้านคน โดยกว่าร้อยละ 97 เป็นผู้หญิง ขณะที่อัตราส่วนความเสี่ยงของหนี้เสียมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 4.39
เอื้อเฟื้อข้อมูล อ.สฤณี อาชวานันทกุล
J
วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554
'เผาตัวตายประท้วง' เส้นทางสู่ความสำเร็จ?
เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่นายโมฮัมเหม็ด บูอาซีซี่ พ่อค้าขายผักผลไม้ชาวตูนีเซียจุดไฟเผาร่างกาย ประท้วงกลุ่มผู้ปกครองประเทศ หลังถูกตำรวจเข้ายึดแผงขายผัก ได้ลุกลามไปเป็นการรวมตัวประท้วงคณะรัฐบาลครั้งใหญ่ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนยากจน จนส่งผลให้ในท้ายที่สุด ประธานาธิบดีเบน อาลี ผู้ปกครองชาวตูนีเซียนมาอย่างยาวนานกว่า 23 ปี ถูกขับไล่ออกจากประเทศ
พฤติกรรมของนายโมฮัมเหม็ด บูอาซีซี่ ที่เสียชีวิตภายหลังเกิดเหตุหนึ่งอาทิตย์ต่อมา กลายไปเป็นพฤติกรรมต้นแบบของการประท้วงรัฐบาล ในกลุ่มประเทศโลกอาหรับ โดยนับถึงปัจจุบันมีประชาชนพยายามก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเองในที่สาธารณะเป็นจำนวนแล้วถึง 10 ราย ทั้งใน แอลจีเรีย อียิปต์ เยเมน และมอริเตเนีย เนื่องมาจากสภาพปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สวนทางกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
สาเหตุที่เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่ประชาชนชาวอาหรับนั้น อาจเป็นเพราะผลสำเร็จของการประท้วงในประเทศตูนีเซีย ทำให้การแสดงออกลักษณะนี้ กลายมาเป็นตัวอย่างหนึ่งในรูปแบบของการประท้วงให้ได้รับชัยชนะ ทั้งที่ในความเป็นจริง สถานการณ์และบริบทที่ต่างกัน ย่อมนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ไม่เหมือนกัน
และจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะเชื่อว่าทางออกที่แท้จริง คือการรวมตัวชุมนุมเรียกร้องของมวลชนอย่าง 'สันติวิธี' เพื่อกดดันให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจแก้ไขปัญหา มากกว่าการเสียสละชีวิตของ 'ตัวเอง' หรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง เนื่องจากไม่มีหลักประกันใดๆทั้งสิ้น ที่จะยืนยันได้ว่า เมื่อเกิดความ 'สูญเสีย' แล้วจะเกิดการ 'เปลี่ยนแปลง'
อย่างไรก็ตาม การประท้วงโดยพยายามจุดไฟเผาตัวเอง หรือที่เรียกว่า เซลฟ์ อิมโมเลชั่น นั้น ไม่ได้พึ่งเคยเกิดขึ้นในกรณีของพ่อค้าชาวตูนีเซียนเป็นคนแรก หรือเป็นเพียงวัฒนธรรมการก่อความไม่สงบของชาวอาหรับ
เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว ก็เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะทำนองเดียวกัน ทั้งในประเทศจีน ปากีสถาน รวมถึงเกาหลีใต้ และถ้าย้อนกลับไปในอดีต ทั้งเวียดนาม และประชาชนในสหภาพโซเวียต ก็เคยมีการจุดไฟเผาตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากทางคณะผู้ปกครองเช่นกัน
ขณะที่ในข้อเขียนของหลักศาสนาพุทธ กล่าวถึง ความพยายามในการฆ่าตัวตาย เช่น การอดอาหาร หรือการจุดไฟเผาร่างกายนั้น เป็นตัวอย่างของผู้ที่ดูหมิ่นโอกาสในการมีชีวิต และสติปัญญาของตัวเอง
เช่นเดียวกับบทบัญญัติในเกือบทุกศาสนา ทั้งพราหมณ์, คริสต์หรืออิสลาม ซึ่งโดยมากมักไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย แต่น่าเสียดายที่ประเด็นนี้ มักถูกนำไปใช้ตีความอย่างบิดเบือน จนบานปลายกลายเป็นพฤติกรรมการเลียนแบบ และนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่น่าสลดใจอยู่เสมอ
คำถามคือแม้บางครั้งปลายทางจะเป็นไปตามความประสงค์ แต่เราควรจะมอง 'ผลลัพธ์' โดยไม่สนใจ 'ระหว่างทาง' เลยหรือไม่ ขณะเดียวกันกับ 'สิ่งที่เกิดขึ้น' คุ้มค่ากับการ 'สูญเสีย' ของใครหรือเปล่า
บางครั้งการเดินทางที่ไปถึง 'ความเปลี่ยนแปลง' ด้วยวิธี 'สันติ' อาจต้องใช้เวลานานนับปี แต่มันอาจจะ 'คุ้มค่า' สำหรับการเลือกเดินในระยะทางที่ไกลกว่า แต่ 'เราทุกคน' สามารถก้าวเดินไปถึงจุดหมายปลายทางได้พร้อมๆกัน
J
พฤติกรรมของนายโมฮัมเหม็ด บูอาซีซี่ ที่เสียชีวิตภายหลังเกิดเหตุหนึ่งอาทิตย์ต่อมา กลายไปเป็นพฤติกรรมต้นแบบของการประท้วงรัฐบาล ในกลุ่มประเทศโลกอาหรับ โดยนับถึงปัจจุบันมีประชาชนพยายามก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเองในที่สาธารณะเป็นจำนวนแล้วถึง 10 ราย ทั้งใน แอลจีเรีย อียิปต์ เยเมน และมอริเตเนีย เนื่องมาจากสภาพปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สวนทางกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
สาเหตุที่เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบในหมู่ประชาชนชาวอาหรับนั้น อาจเป็นเพราะผลสำเร็จของการประท้วงในประเทศตูนีเซีย ทำให้การแสดงออกลักษณะนี้ กลายมาเป็นตัวอย่างหนึ่งในรูปแบบของการประท้วงให้ได้รับชัยชนะ ทั้งที่ในความเป็นจริง สถานการณ์และบริบทที่ต่างกัน ย่อมนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ไม่เหมือนกัน
และจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะเชื่อว่าทางออกที่แท้จริง คือการรวมตัวชุมนุมเรียกร้องของมวลชนอย่าง 'สันติวิธี' เพื่อกดดันให้รัฐบาลหันมาให้ความสนใจแก้ไขปัญหา มากกว่าการเสียสละชีวิตของ 'ตัวเอง' หรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง เนื่องจากไม่มีหลักประกันใดๆทั้งสิ้น ที่จะยืนยันได้ว่า เมื่อเกิดความ 'สูญเสีย' แล้วจะเกิดการ 'เปลี่ยนแปลง'
อย่างไรก็ตาม การประท้วงโดยพยายามจุดไฟเผาตัวเอง หรือที่เรียกว่า เซลฟ์ อิมโมเลชั่น นั้น ไม่ได้พึ่งเคยเกิดขึ้นในกรณีของพ่อค้าชาวตูนีเซียนเป็นคนแรก หรือเป็นเพียงวัฒนธรรมการก่อความไม่สงบของชาวอาหรับ
เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว ก็เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะทำนองเดียวกัน ทั้งในประเทศจีน ปากีสถาน รวมถึงเกาหลีใต้ และถ้าย้อนกลับไปในอดีต ทั้งเวียดนาม และประชาชนในสหภาพโซเวียต ก็เคยมีการจุดไฟเผาตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากทางคณะผู้ปกครองเช่นกัน
ขณะที่ในข้อเขียนของหลักศาสนาพุทธ กล่าวถึง ความพยายามในการฆ่าตัวตาย เช่น การอดอาหาร หรือการจุดไฟเผาร่างกายนั้น เป็นตัวอย่างของผู้ที่ดูหมิ่นโอกาสในการมีชีวิต และสติปัญญาของตัวเอง
เช่นเดียวกับบทบัญญัติในเกือบทุกศาสนา ทั้งพราหมณ์, คริสต์หรืออิสลาม ซึ่งโดยมากมักไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย แต่น่าเสียดายที่ประเด็นนี้ มักถูกนำไปใช้ตีความอย่างบิดเบือน จนบานปลายกลายเป็นพฤติกรรมการเลียนแบบ และนำมาซึ่งเหตุการณ์ที่น่าสลดใจอยู่เสมอ
คำถามคือแม้บางครั้งปลายทางจะเป็นไปตามความประสงค์ แต่เราควรจะมอง 'ผลลัพธ์' โดยไม่สนใจ 'ระหว่างทาง' เลยหรือไม่ ขณะเดียวกันกับ 'สิ่งที่เกิดขึ้น' คุ้มค่ากับการ 'สูญเสีย' ของใครหรือเปล่า
บางครั้งการเดินทางที่ไปถึง 'ความเปลี่ยนแปลง' ด้วยวิธี 'สันติ' อาจต้องใช้เวลานานนับปี แต่มันอาจจะ 'คุ้มค่า' สำหรับการเลือกเดินในระยะทางที่ไกลกว่า แต่ 'เราทุกคน' สามารถก้าวเดินไปถึงจุดหมายปลายทางได้พร้อมๆกัน
J
วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554
พอล เซซานน์ ในปีที่ 172
ปาโบล ปิกัสโซ่ และ อ็องรี มาติส เคยกล่าวถึง พอล เซซานน์ ว่า คือ 'บิดาของผองเรา' คำนิยามของยอดศิลปินทั้งสอง เป็นคำที่สรุปความสำคัญของจิตรกรฝรั่งเศสผู้นี้ ได้อย่างชัดเจนที่สุด
ชีวิตของ พอล เซซานน์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม ปี 1839 ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ วันนี้จะเป็นวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 172 พอดิบพอดี ชีวิตเล็กๆนี้ จากไปกว่าร้อยปีแล้ว
'จิตรกรอัจฉริยะ' ชาวฝรั่งเศษรายนี้ โด่งดังในการทำงานศิลปะแนวโพสท์ อิมเพรสชันนิสม์ และเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยงานของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างศิลปะรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ และคิวบิสม์
งานของพอล เซซานน์ โดดเด่นในเรื่องการรังสรรค์องค์ประกอบของภาพ, สีและน้ำหนัก รวมถึงการลงลายร่างภาพ โดยลักษณะเด่นของวิธีการเขียนภาพของเซซานน์นั้น จะใช้ระยะการลงฝีแปรงที่สั้นๆ ซ้ำๆ และเบาๆ เพื่อสร้างความซับซ้อนของลวดลาย ซึ่งให้ผลเป็นการสื่ออารมณ์ของรูปทรง 'นามธรรม' // ขณะเดียวกัน ภาพของเซซานน์จะเน้นการศึกษา เพื่อค้นหาวิธีที่จะจัดการกับความซับซ้อน ในกระบวนการรับรู้และมองเห็นของมนุษย์
งานชิ้นสำคัญของเซซานน์ ก็มีทั้ง The Bathers ซึ่งเป็นภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ภาพชุด Bather // ถูกนำออกมาจัดแสดงครั้งแรกในปี 1907 และได้รับการยกย่องว่าเป็น หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของโลกศิลปะสมัยใหม่
หรืองาน Study: Landscape at Auvers ที่จัดแสดงครั้งแรกในปี 1873 ซึ่งภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับคำชมเชยมากที่สุดจากบรรดาเหล่านักวิจารณ์ ในการจัดแสดงภาพครั้งแรกของเซซานน์ จึงคล้ายเป็นเหมือนภาพที่วางหลักไมล์ในวงการศิลปะให้กับเขา
ตลอดชีวิตการทำงานศิลปะ ผลงานของเซซานน์ได้รับความนิยม ในกลุ่มผู้เสพศิลปะชาวฝรั่งเศษอยู่พอประมาณ ตราบจนกระทั่งวันที่เขาเสียชีวิต งานของเขาจึงเริ่มแพร่หลายออกไปเป็นที่รู้จักในหลายประเทศทั่วยุโรป และกลายเป็น 'ต้นน้ำ' ของลักษณะศิลปะแนวโพสท์ อิมเพรชชั่นนิสม์ และคิวบิสม์ ในเวลาต่อมา
พอล เซซานน์ เป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่มี 'ชื่อเสียง' ตามมาหลังการมี 'ชีวิต' โดยเมื่อปี 1863 งานศิลปะของเขา เคยถูก 'เซลอง' หอศิลป์ชื่อดังในอดีต จัดแสดงงานรวมไว้ในหมวด 'งานศิลปะที่ไม่ได้รับการยอมรับ' และปฏิเสธที่จะนำงานของเขาร่วมจัดแสดงในห้องภาพ 'ทุกปี' ตั้งแต่ปี 1864 - 1869 ก่อนที่ ปี 1882 เซลองจะยอมรับงานของเซซานน์ เข้าร่วมจัดแสดงเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย
เซซานน์เสียชีวิตขณะมีอายุ 67 ปี ด้วยโรคปอดบวม ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปถึง 172 ปี นับจากวันที่เขาเกิด แต่วันนี้ ก็ยังมีผู้ที่ศึกษาและกล่าวถึง 'พอล เซซานน์' อยู่อย่างกว้างขวาง ซึ่งคงไม่มากจนเกินไป หากจะกล่าวว่า อีก 105 ปี ที่ทำให้เขา 'คล้าย' มีชีวิตนั้น เป็นเพราะ 'ผลงาน' ในสิ่งที่เขาทำ
เรื่องราวของพอล เซซานน์ ทำให้นึกไปถึงคำพูดหนึ่ง ของบิดาแห่งศิลปินไทย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ว่า 'Ars longa, vita brevis' หรือ 'ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น'
J
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
คนสเก็ต จะ 'ข้าม'
'Some men see things as they are and say why - I dream things that never were and say why not.' : George Bernard Shaw
'บางคนมองสิ่งที่มีอยู่ แล้วถามว่า ทำไม ถึงเป็นเช่นนั้น? ส่วนฉัน ฝันถึงสิ่งไม่เคยเกิดขึ้น แล้วถามว่า ทำไม ถึงไม่ล่ะ?' : จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
คนทุกคนมีบางสิ่งที่เราเรียกว่า 'ความฝัน' อยู่ในตัว น่าเสียดายที่บางครั้งเราปล่อยให้วันแต่ละวันผ่านไป โดยทิ้งร้างความฝัน ไว้ให้เป็นเพียง 'แค่' ความฝัน โดยอ้างอิงถึงข้อจำกัดที่เราเชื่อว่า 'ยาก' หรือ 'ไกล' เกินกว่าทำได้จริง
แต่ไม่ใช่สำหรับพอล เค้นท์, อดัม คอลตัน และอารอน เอเนโวลด์เซน สามหนุ่มที่ออกเดินทางด้วย สเก็ตบอร์ด ข้ามประเทศเปรูและโบลีเวียในช่วงเวลา 36 วัน ภารกิจนี้ไม่ได้ทำเพื่อองค์การกุศลใดๆ นอกจาก 'ความพึงพอใจ' ของตัวพวกเขาเอง
การเดินทางทั้งหมด 2,400 กิโลเมตร จากกรุงลิมา ของเปรู ไปถึงเมืองโปโตซี ของโบลีเวีย เริ่มต้นและจบลง ด้วยอุปกรณ์ทั้งหมดเพียง กล้องวิดีโอ, ชุดไขควงขนาดเล็ก, อุปกรณ์ปฐมพยาบาล, เสื้อผ้า, แผนที่ และชุดตั้งแคมป์น้ำหนักเบา
ความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด, การแบกเป้ผจญภัย, การเดินทางที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของมนุษย์ และกล้องวิดีโอ หลอมรวมกลายเป็น 'การเดินทางครั้งพิเศษ' ที่เปรียบได้เป็น 'ภาพสะท้อน' ของ 'พลังในมนุษย์' ที่แสดงให้เราทุกคนเห็นว่า มันไม่เคยมีอยู่อย่างจำกัด...
และเหมือนที่จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ถามเราเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า 'ทำไม ถึงไม่ล่ะ?'
ภาพความทรหด สามารถรับชมได้จากภาพที่ปรากฏ ขณะที่อารมณ์ ความรู้สึก และบรรยากาศ คงต้องรบกวนให้คว้ากระดานสเก็ตบอร์ด แล้วออกไป 'เริ่มต้น' ตั้งแต่วันนี้เท่านั้น
ติดตามพวกเขาเพิ่มเติมได้ทาง Long Trek On Skate Decks
J
'บางคนมองสิ่งที่มีอยู่ แล้วถามว่า ทำไม ถึงเป็นเช่นนั้น? ส่วนฉัน ฝันถึงสิ่งไม่เคยเกิดขึ้น แล้วถามว่า ทำไม ถึงไม่ล่ะ?' : จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
คนทุกคนมีบางสิ่งที่เราเรียกว่า 'ความฝัน' อยู่ในตัว น่าเสียดายที่บางครั้งเราปล่อยให้วันแต่ละวันผ่านไป โดยทิ้งร้างความฝัน ไว้ให้เป็นเพียง 'แค่' ความฝัน โดยอ้างอิงถึงข้อจำกัดที่เราเชื่อว่า 'ยาก' หรือ 'ไกล' เกินกว่าทำได้จริง
แต่ไม่ใช่สำหรับพอล เค้นท์, อดัม คอลตัน และอารอน เอเนโวลด์เซน สามหนุ่มที่ออกเดินทางด้วย สเก็ตบอร์ด ข้ามประเทศเปรูและโบลีเวียในช่วงเวลา 36 วัน ภารกิจนี้ไม่ได้ทำเพื่อองค์การกุศลใดๆ นอกจาก 'ความพึงพอใจ' ของตัวพวกเขาเอง
การเดินทางทั้งหมด 2,400 กิโลเมตร จากกรุงลิมา ของเปรู ไปถึงเมืองโปโตซี ของโบลีเวีย เริ่มต้นและจบลง ด้วยอุปกรณ์ทั้งหมดเพียง กล้องวิดีโอ, ชุดไขควงขนาดเล็ก, อุปกรณ์ปฐมพยาบาล, เสื้อผ้า, แผนที่ และชุดตั้งแคมป์น้ำหนักเบา
ความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด, การแบกเป้ผจญภัย, การเดินทางที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของมนุษย์ และกล้องวิดีโอ หลอมรวมกลายเป็น 'การเดินทางครั้งพิเศษ' ที่เปรียบได้เป็น 'ภาพสะท้อน' ของ 'พลังในมนุษย์' ที่แสดงให้เราทุกคนเห็นว่า มันไม่เคยมีอยู่อย่างจำกัด...
และเหมือนที่จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ถามเราเมื่อหลายสิบปีก่อนว่า 'ทำไม ถึงไม่ล่ะ?'
ภาพความทรหด สามารถรับชมได้จากภาพที่ปรากฏ ขณะที่อารมณ์ ความรู้สึก และบรรยากาศ คงต้องรบกวนให้คว้ากระดานสเก็ตบอร์ด แล้วออกไป 'เริ่มต้น' ตั้งแต่วันนี้เท่านั้น
ติดตามพวกเขาเพิ่มเติมได้ทาง Long Trek On Skate Decks
J
ป้ายกำกับ:
การเดินทาง,
ข้ามประเทศ,
ความฝัน,
ผจญภัย,
พลัง,
ศักยภาพ,
สเก็ตบอร์ด
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
'มะเร็ง' จากบุหรี่ อาจไม่นานอย่างที่คิด
สิงห์อมควันหรือผู้ที่คิดจะหันมาเข้าวงการนักสูบ คงต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับผลกระทบจากการสูบบุหรี่เสียใหม่ เมื่อรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยทางเคมีเกี่ยวกับพิษวิทยา เผยให้เห็นว่า บุหรี่สามารถกระตุ้นให้ร่ายกายสร้างสารก่อมะเร็งได้ตั้งแต่นาทีแรก โดยไม่ต้องรอให้ถึงปีแรกที่เริ่มสูบ
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับทุนจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ลักษณะการวิจัยครั้งล่าสุดนี้ ค่อนข้างแตกต่างจากรูปแบบของการวิจัยครั้งก่อนๆ โดยเป็นการพุ่งประเด็นไปเฉพาะที่ตัวโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ 'พีเอเอช' ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์ก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกาย
สารประกอบ 'พีเอเอช' เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การสูบบุหรี่ หรือการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และเวลาที่มันเข้าไปอยู่ในร่างกาย เซลล์ภายในจะทำการแปลงองค์ประกอบของมัน กลายเป็นสารเคมีตัวใหม่อีกตัวหนึ่ง ซึ่งส่งผลร้ายต่อดีเอ็นเอในร่างกายของมนุษย์ และเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็งตามมา
โดยผลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างของอาสาสมัคร 12 คน พบว่า กระบวนการทั้งหมด ใช้เวลาเพียง 15 ถึง 30 นาทีของการสูบบุหรี่ 'ตัวแรก' เท่านั้น
ขณะที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้หวังว่า ผลของการวิจัย จะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังคิดจะหันมาเริ่มสูบบุหรี่ โดยผู้คนส่วนมากมักคิดว่า การสูบบุหรี่นั้นต้องใช้เวลานานนับปีในกระบวนการที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ขณะที่ในความเป็นจริง กระบวนการนี้ใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
J
ป้ายกำกับ:
การสูบบุหรี่,
งานวิจัย,
บุหรี่,
ปัญหาสุขภาพ,
พิษวิทยา,
พีเอเอช,
มะเร็ง
การกลับมาของหน้ากากเสือ
กลายเป็นกระแสที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น เมื่อผู้คนต่างพากันบริจาคสิ่งของไปให้เหล่าเด็กๆ ในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตามปณิธานของวีรบุรุษนักมวยปล้ำในหนังสือการ์ตูนชื่อดัง 'หน้ากากเสือ'
ปรากฏการณ์นี้ เริ่มต้นขึ้นในวันคริสต์มาส โดยนาย ยาซุฮิโกะ ทานิกูชิ เจ้าหน้าที่ของสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งหนึ่ง กล่าวว่า มีผู้มาบริจาคกระเป๋านักเรียนให้เด็กๆ แต่ปฏิเสธที่จะให้ชื่อจริงของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งไว้เพียงกระดาษที่มีรูปวาดหน้ากากเสือ และข้อความที่เขียนว่า 'ฉันคือหน้ากากเสือ ฉันมาที่เมืองนี้ และฉันต้องการให้คุณช่วยเหลือฉันมอบของขวัญให้กับเด็กทุกคนในบ้านหลังนี้'
หลังจากที่ข่าวนี้ปรากฏทางสื่อต่างๆในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจำนวนมากต่างพากันทยอยส่งของบริจาคไปให้เด็กๆตามบ้านเด็กกำพร้า ในนามของ 'หน้ากากเสือ' หนึ่งในตัวการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของชาวญี่ปุ่น
เด็กๆในบ้านเด็กกำพร้าจำนวนมากได้รับทั้งกระเป๋านักเรียน, ผลไม้, ผัก รวมถึงข้าวสาร นอกจากนี้ยังมีเงินสด จำนวนกว่า 92,000 เยน หรือประมาณ 34,000 บาท ที่มาพร้อมข้อความว่า 'ของขวัญจากหน้ากากเสือทั่วญี่ปุ่น'
การ์ตูนหน้ากากเสือ เขียนเนื้อเรื่องโดย อิคคิ คาจิวาระ วาดภาพโดย นาโอกิ ซูจิ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1968 จนกระทั่งถึงปี 1971 เคยถูกนำไปทำเป็นการ์ตูนทีวีระหว่างปี 1969 - 1971 และปี 1981 - 1982 นอกจากนี้ หน้ากากเสือ ยังเคยปรากฏตัวในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนเมื่อปี 1970 อีกด้วย
หน้ากากเสือ ได้รับการยกย่องว่า เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหากินใจมากที่สุดเรื่องหนึ่ง โดยตามเนื้อเรื่อง 'หน้ากากเสือ' จะนำเงินที่ชนะจากการแข่งขันมวยปล้ำ ส่งกลับไปให้สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เขาเติบโตมาทุกเดือน เพื่อช่วยจุนเจือค่าใช้จ่าย และหนี้สินของบ้านเด็กกำพร้า
และหน้ากากเสือ ยังเป็นวีรบุรุษยุคแรกๆที่ประกอบขึ้นจากความไม่สมบูรณ์แบบ โดยพละกำลังและความสามารถของเขาได้มาจากการฝึกฝนอย่างหนัก ขณะที่ภายในจิตใจก็มีทั้งความรู้สึกด้านดีและร้ายที่คอยต่อสู้กัน ซึ่งหลายครั้งเราจะเห็นว่า การที่เขาเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเขาเป็นคนดี แต่เป็นเพราะเขาสามารถข่มจิตใจที่สกปรกไว้ได้ด้วยหัวใจที่ดีงาม
ปรากฏการณ์นี้ เริ่มต้นขึ้นในวันคริสต์มาส โดยนาย ยาซุฮิโกะ ทานิกูชิ เจ้าหน้าที่ของสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งหนึ่ง กล่าวว่า มีผู้มาบริจาคกระเป๋านักเรียนให้เด็กๆ แต่ปฏิเสธที่จะให้ชื่อจริงของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งไว้เพียงกระดาษที่มีรูปวาดหน้ากากเสือ และข้อความที่เขียนว่า 'ฉันคือหน้ากากเสือ ฉันมาที่เมืองนี้ และฉันต้องการให้คุณช่วยเหลือฉันมอบของขวัญให้กับเด็กทุกคนในบ้านหลังนี้'
หลังจากที่ข่าวนี้ปรากฏทางสื่อต่างๆในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจำนวนมากต่างพากันทยอยส่งของบริจาคไปให้เด็กๆตามบ้านเด็กกำพร้า ในนามของ 'หน้ากากเสือ' หนึ่งในตัวการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของชาวญี่ปุ่น
เด็กๆในบ้านเด็กกำพร้าจำนวนมากได้รับทั้งกระเป๋านักเรียน, ผลไม้, ผัก รวมถึงข้าวสาร นอกจากนี้ยังมีเงินสด จำนวนกว่า 92,000 เยน หรือประมาณ 34,000 บาท ที่มาพร้อมข้อความว่า 'ของขวัญจากหน้ากากเสือทั่วญี่ปุ่น'
การ์ตูนหน้ากากเสือ เขียนเนื้อเรื่องโดย อิคคิ คาจิวาระ วาดภาพโดย นาโอกิ ซูจิ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1968 จนกระทั่งถึงปี 1971 เคยถูกนำไปทำเป็นการ์ตูนทีวีระหว่างปี 1969 - 1971 และปี 1981 - 1982 นอกจากนี้ หน้ากากเสือ ยังเคยปรากฏตัวในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนเมื่อปี 1970 อีกด้วย
หน้ากากเสือ ได้รับการยกย่องว่า เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อหากินใจมากที่สุดเรื่องหนึ่ง โดยตามเนื้อเรื่อง 'หน้ากากเสือ' จะนำเงินที่ชนะจากการแข่งขันมวยปล้ำ ส่งกลับไปให้สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เขาเติบโตมาทุกเดือน เพื่อช่วยจุนเจือค่าใช้จ่าย และหนี้สินของบ้านเด็กกำพร้า
และหน้ากากเสือ ยังเป็นวีรบุรุษยุคแรกๆที่ประกอบขึ้นจากความไม่สมบูรณ์แบบ โดยพละกำลังและความสามารถของเขาได้มาจากการฝึกฝนอย่างหนัก ขณะที่ภายในจิตใจก็มีทั้งความรู้สึกด้านดีและร้ายที่คอยต่อสู้กัน ซึ่งหลายครั้งเราจะเห็นว่า การที่เขาเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเขาเป็นคนดี แต่เป็นเพราะเขาสามารถข่มจิตใจที่สกปรกไว้ได้ด้วยหัวใจที่ดีงาม
J
ป้ายกำกับ:
การ์ตูน,
ช่วยเหลือเด็ก,
ญี่ปุ่น,
เด็กกำพร้า,
บริจาค,
หน้ากากเสือ
วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554
เมื่อโลกเดินทางมาถึงปีที่ร้อนที่สุด
จากรายงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา และหน่วยงานดูแลมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศสหรัฐฯ หรือ เอ็นโอเอเอ (NOAA) มีข้อสรุปที่มีความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดปี 2553 นั้น เป็นปีที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด ในบันทึกของอุณหภูมิโลก
โดยบันทึกสถิติอุณหภูมิโลกนั้น สามารถย้อนหลังกลับไปได้ถึงปี 2423 ซึ่งจากข้อสรุปที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาพบว่า ปี 2553 นั้น ระดับอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่ามาตราฐานกลางไป 0.62 องศาเซลเซียส เท่ากับปี 2548 ที่ 'เคย' เป็นปีที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงที่สุด
ขณะที่ถ้าเทียบกันถึงหลักของตัวเลขจุดทศนิยม ปี 2553 จะก้าวขึ้นครองตำแหน่ง ด้วยตัวเลขมากกว่าฉิวเฉียดไม่ถึง 0.001 องศาเซลเซียส
ทั้งที่ เมื่อปี 2553 เป็นปีที่ปริมาณแสงอาทิตย์ ตกกระทบมาสู่โลก 'น้อย' ที่สุดในรอบเกือบศตวรรษ จากผลกระทบของจุดบอดบนดวงอาทิตย์ ขณะเดียวกับที่ครึ่งปีหลัง เกิดปรากฏการณ์ลานีญาขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า ผิวน้ำทะเลแถบตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิก บริเวณเขตศูนย์สูตรจะมีระดับอุณหภูมิ 'ต่ำ' กว่าปกติ
โดยตัวเลขอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปี 2553 นั้น สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยดึงตัวเลขเฉลี่ยของอุณหภูมิโลกให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่มีเหตุและปัจจัยหลายประการ ที่เอื้อให้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกควรเปลี่ยนไปในลักษณะที่ลดต่ำลง
ถึงปัจจุบัน อาจยังไม่มีใครสามารถออกมาชี้แจง แยกแยะข้อดี ข้อเสีย รวมถึงแสดงหลักฐานที่เป็นรูปธรรมว่า ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เรากำลังเผชิญหน้า เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เราเรียกว่า 'สภาวะโลกร้อน'
แต่สิ่งที่เห็นและเป็นไปในขณะนี้กับสถานการณ์และบรรยากาศโลกรอบตัว คงพอจะบอกอะไรบางอย่างกับเราได้ว่า อนาคตของสิ่งที่มนุษยชาติกำลังจะต้องเผชิญนั้น อาจไม่ใช่เพียงแค่การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอีกต่อไป
J
โดยบันทึกสถิติอุณหภูมิโลกนั้น สามารถย้อนหลังกลับไปได้ถึงปี 2423 ซึ่งจากข้อสรุปที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาพบว่า ปี 2553 นั้น ระดับอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าค่ามาตราฐานกลางไป 0.62 องศาเซลเซียส เท่ากับปี 2548 ที่ 'เคย' เป็นปีที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงที่สุด
ขณะที่ถ้าเทียบกันถึงหลักของตัวเลขจุดทศนิยม ปี 2553 จะก้าวขึ้นครองตำแหน่ง ด้วยตัวเลขมากกว่าฉิวเฉียดไม่ถึง 0.001 องศาเซลเซียส
ทั้งที่ เมื่อปี 2553 เป็นปีที่ปริมาณแสงอาทิตย์ ตกกระทบมาสู่โลก 'น้อย' ที่สุดในรอบเกือบศตวรรษ จากผลกระทบของจุดบอดบนดวงอาทิตย์ ขณะเดียวกับที่ครึ่งปีหลัง เกิดปรากฏการณ์ลานีญาขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า ผิวน้ำทะเลแถบตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิก บริเวณเขตศูนย์สูตรจะมีระดับอุณหภูมิ 'ต่ำ' กว่าปกติ
โดยตัวเลขอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปี 2553 นั้น สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยดึงตัวเลขเฉลี่ยของอุณหภูมิโลกให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่มีเหตุและปัจจัยหลายประการ ที่เอื้อให้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกควรเปลี่ยนไปในลักษณะที่ลดต่ำลง
ถึงปัจจุบัน อาจยังไม่มีใครสามารถออกมาชี้แจง แยกแยะข้อดี ข้อเสีย รวมถึงแสดงหลักฐานที่เป็นรูปธรรมว่า ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เรากำลังเผชิญหน้า เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เราเรียกว่า 'สภาวะโลกร้อน'
แต่สิ่งที่เห็นและเป็นไปในขณะนี้กับสถานการณ์และบรรยากาศโลกรอบตัว คงพอจะบอกอะไรบางอย่างกับเราได้ว่า อนาคตของสิ่งที่มนุษยชาติกำลังจะต้องเผชิญนั้น อาจไม่ใช่เพียงแค่การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอีกต่อไป
J
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)