วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ใบไม้
เคยนั่งมอง 'ใบไม้' เวลาถูกลมพัดบ้างไหม ทุดครั้งที่ลมพัดมาสักวูบหนึ่ง เหล่าใบไม้ที่ประดับอยู่ตามกิ่งก้านต่างเคลื่อนไหวอย่างพร้อมเพรียงกัน แต่ในความ 'เหมือน' มีน้อยเหลือเกินที่จะสั่นไหวตามกันไปในท่วงทำนองเดียวกัน
ใบไม้แต่ละใบคล้ายเป็นปัจเจกในอิสระที่จะเลือกเดิน ขนาดใบไม้แต่ละใบบน 'กิ่งก้านเดียวกัน' ยังมีโอกาสที่จะเคลื่อนไหวไป 'คนละทิศละทางกัน' แต่ทำไมบางครั้ง 'คน' เราถึงไม่เป็นเช่นนั้น
เรามีสิทธิที่จะเลือก 'เดินคนละทาง' หรือ 'คิดแตกต่างกัน' โดยสามารถยังยืนอยู่ในสังคมเดียวกันได้ไหม
บางครั้งการที่ใครคิดไม่เหมือนเราอาจไม่ได้มีความหมายเดียวกับว่า เขา 'โง่' ไปกว่าเรา
เราเคยคิดแตก ความชอบต่าง รสนิยมไม่เหมือน มานมนานเพียงใด แต่สุดท้ายปัจจุบัน เรามองเห็นกันเพียง 'คนที่คิดคนละทางกับเรา คือคนที่ต่ำกว่าเรา' และเขาไม่ใช่พวกเดียวกับเรา ดังนั้นเขาจึงไม่มีสิทธิมาประดับอยู่บนกิ่งก้านดียวกับเราเช่นกัน
เด็ดมันทิ้งไปเถอะ เราไม่เสียใจ
ฆ่ามันทิ้งไปเถอะ เราไม่เป็นไร
ทำลายมันทิ้งไปเถอะ เราอยู่คนเดียวได้
เราอยู่คนเดียว ในโลกสังคมที่มีเพียงเรา เป็นผู้ถูกต้องแต่เพียงผู้เดียวได้...
J
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ปฏิบัติการผักชี
ใครว่าปฏิบัติการ 'ผักชีโรยหน้า' เกิดขึ้นเฉพาะในดินแดนสยามเมืองยิ้ม เพราะจากรายงานล่าสุด หลังจากจบศึกซุปเปอร์โบวล์ การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล ที่จัดเป็นประเพณีกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ชาวโลกรวมถึงชาวสหรัฐฯบางรายก็เริ่มได้เห็นว่า หน้าฉากที่สวยงาม (หากไม่รวมนักร้องสาวร้องเพลงชาติผิด ซึ่งถ้าเป็นในไทย เธออาจโดนข้อหา ประพฤติตัวขัดต่อศีลธรรมอันดี) เต็มไปด้วยความลำบากของชาวบ้านในพื้นที่บางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวบ้านที่ไม่มีปากเสียง อย่างพวกคนจรจัด
โดยจากรายงานของเว็บไซต์ motherjones.com รายงานว่า เมื่อประมาณเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีคนไร้บ้านจำนวนมากถูก 'เคลื่อนย้าย' ออกจากพื้นที่ ตามนโยบายของสภาเมืองดัลลัส สถานที่จัดซุปเปอร์โบวล์นัดชิงชนะเลิศ เพื่อ 'หน้าตา' ที่สวยงามของบ้านเมือง ซึ่งจะมีแก่นักท่องเที่ยว 'อันเป็นที่รัก'
และถ้าสืบค้นต่อไปถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ ยังสามารถพบ 'ปฏิบัติการผักชี' ในอีกหลายพื้นที่ โดยนับเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกีฬาก็เช่น เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในตึกใกล้สถานที่จัดกีฬาโอลิมปิค ในเมืองแวนคูเวอร์ ของสหรัฐฯ ถูกขับไล่ออกจากที่พักอย่างผิดกฏหมาย เนื่องจากเจ้าของตึกต้องการนำห้องว่างไปปล่อยเช่าให้แก่ช่างก่อสร้าง ที่จะมาทำงานสร้างสนามกีฬาในบริเวณใกล้เคียง
หรือในปี 2000 สภาเมืองซิดนีย์ ของออสเตรเลีย ได้ออกกฏหมายพิเศษในการบีบบังคับคนจรจัด ด้วยการให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการจับกุมตัวกลุ่มคนไร้บ้านด้วยข้อหาที่เรียกว่า 'social nuisance' หรือ 'สร้างความรำคาญให้กับสังคม' ซึ่งลงท้ายเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองซิดนีย์ ในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่กลายเป็นความยากลำบากของคนยากไร้ชาวซิดนีย์เอง
อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับควันหลงของซุปเปอร์โบวล์แล้วพบว่า ผู้คนกำลังได้ปลื้มกับเรื่องราวของซินเดอเรลล่า 'เจมส์ โจนส์' หนึ่งในฮีโร่ของกรีนเบย์ แพ็คเกอร์ ที่เติบโตมาจากสังคมของ 'คนไร้บ้าน' เลยทำให้ความรู้สึกตื้นตัน แปรเปลี่ยนไปเป็นสังเวชความตันและตื้นของใครบางคนแทน
J
โดยจากรายงานของเว็บไซต์ motherjones.com รายงานว่า เมื่อประมาณเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีคนไร้บ้านจำนวนมากถูก 'เคลื่อนย้าย' ออกจากพื้นที่ ตามนโยบายของสภาเมืองดัลลัส สถานที่จัดซุปเปอร์โบวล์นัดชิงชนะเลิศ เพื่อ 'หน้าตา' ที่สวยงามของบ้านเมือง ซึ่งจะมีแก่นักท่องเที่ยว 'อันเป็นที่รัก'
และถ้าสืบค้นต่อไปถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ ยังสามารถพบ 'ปฏิบัติการผักชี' ในอีกหลายพื้นที่ โดยนับเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกีฬาก็เช่น เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในตึกใกล้สถานที่จัดกีฬาโอลิมปิค ในเมืองแวนคูเวอร์ ของสหรัฐฯ ถูกขับไล่ออกจากที่พักอย่างผิดกฏหมาย เนื่องจากเจ้าของตึกต้องการนำห้องว่างไปปล่อยเช่าให้แก่ช่างก่อสร้าง ที่จะมาทำงานสร้างสนามกีฬาในบริเวณใกล้เคียง
หรือในปี 2000 สภาเมืองซิดนีย์ ของออสเตรเลีย ได้ออกกฏหมายพิเศษในการบีบบังคับคนจรจัด ด้วยการให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการจับกุมตัวกลุ่มคนไร้บ้านด้วยข้อหาที่เรียกว่า 'social nuisance' หรือ 'สร้างความรำคาญให้กับสังคม' ซึ่งลงท้ายเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองซิดนีย์ ในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่กลายเป็นความยากลำบากของคนยากไร้ชาวซิดนีย์เอง
อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับควันหลงของซุปเปอร์โบวล์แล้วพบว่า ผู้คนกำลังได้ปลื้มกับเรื่องราวของซินเดอเรลล่า 'เจมส์ โจนส์' หนึ่งในฮีโร่ของกรีนเบย์ แพ็คเกอร์ ที่เติบโตมาจากสังคมของ 'คนไร้บ้าน' เลยทำให้ความรู้สึกตื้นตัน แปรเปลี่ยนไปเป็นสังเวชความตันและตื้นของใครบางคนแทน
J
ป้ายกำกับ:
คนจรจัด,
คนไร้บ้าน,
ผักชีโรยหน้า,
Olympics,
Super Bowls
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เด็กชายชาวจีนที่มี 'มือพิเศษ'
'มือ' เป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่ข้องเกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ล้างหน้า แปรงฟัน ไปจนถึงอ่านหนังสือ หรือกระทั่งกินข้าว โดยกว่าร้อยละ 90 ของกิจกรรมที่เราทำกันอยู่นั้น 'ต้อง' ใช้มือเป็นส่วนประกอบเกือบทั้งสิ้น แต่ใช่ว่าถ้าหากเราไม่มี 'มือ' แล้ว จะหมายความว่าเราไม่สามารถดำรงชีวิตเช่นคนปกติได้
เด็กชายหลิว ยานโบ วัย 5 ขวบ เสียมือทั้งสองข้างไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อนำมือไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าแรงสูง ทำให้แพทย์ต้องตัดแขนทั้งสองข้างทิ้ง ขณะที่เขามีอายุได้เพียง 3 ขวบ
โดยเด็กชายหลิวอาศัยอยู่กับแม่และย่า เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกันหลังจากเขาเกิดได้ไม่นาน ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้แม่ของเขาต้องเดินทางออกไปทำงานนอกเมือง เพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้ค่ารักษาพยาบาล และทิ้งให้เด็กชายหลิว อยู่ในความดูแลของคุณย่าตามลำพัง
และเป็นคุณย่าของเขานี่เอง ที่ริเริ่มสอนให้เด็กชายหลิว พยายามดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ 'เท้า' ขึ้นมาทำหน้าที่แทนมือ ทั้งการคีบตะเกียบกินข้าว หรือกระทั่งการอ่านหนังสือ ซึ่งคุณย่าของเขากล่าวว่า เด็กชายหลิวต้องใช้เวลาถึง 2 อาทิตย์ กว่าจะสามารถใช้นิ้วเท้าคีบตะเกียบได้อย่างคล่องแคล่ว
ขณะเดียวกันที่โรงเรียน คุณครูของเด็กชายหลิวก็ได้มอบความรักและความดูแลให้แก่เขาเป็นพิเศษ โดยคุณครูกล่าวถึงเด็กชายหลิวว่า ได้เริ่มให้เขาลองหัดเขียนหนังสือด้วยนิ้วเท้า ซึ่งในตอนแรกก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่เด็กชายหลิวกลับยืนกรานที่จะฝึกฝน หลังเลิกเรียนกับครู
และด้วย 'ความพยายาม' บวกกับ 'ความตั้งใจ' ในการฝึกฝนใช้ 'มือพิเศษ' ของตัวเอง ทำให้ในที่สุด เด็กชายหลิวก็สามารถเขียนหนังสือด้วยนิ้วเท้าได้, เหลาดินสอเองได้ หรือแม้กระทั่งปั่นจักรยาน ก็ยังสามารถทำได้เช่นคนปกติ
เด็กชายหลิว ยานโบ ในปัจจุบัน มีความสุข, สดใส เช่นเดียวกับเด็กๆวัยเดียวกันทั่วๆไป เขาสามารถออกไปวิ่งเล่น หรือเต้นรำในงานโรงเรียน โดยยอมให้เพื่อนๆสามารถจับแขนเสื้อแทนมือของเขาได้โดยไม่เขอะเขิน ซึ่ง 'เรื่องเล็กๆ' ของ 'เด็กตัวเล็กๆ' คนนี้ น่าจะทำให้เรามีกำลังใจ ที่จะคิดต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตให้ได้ 'ด้วยมือของเราเอง'
J
เด็กชายหลิว ยานโบ วัย 5 ขวบ เสียมือทั้งสองข้างไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อนำมือไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าแรงสูง ทำให้แพทย์ต้องตัดแขนทั้งสองข้างทิ้ง ขณะที่เขามีอายุได้เพียง 3 ขวบ
โดยเด็กชายหลิวอาศัยอยู่กับแม่และย่า เนื่องจากพ่อแม่แยกทางกันหลังจากเขาเกิดได้ไม่นาน ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้แม่ของเขาต้องเดินทางออกไปทำงานนอกเมือง เพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้ค่ารักษาพยาบาล และทิ้งให้เด็กชายหลิว อยู่ในความดูแลของคุณย่าตามลำพัง
และเป็นคุณย่าของเขานี่เอง ที่ริเริ่มสอนให้เด็กชายหลิว พยายามดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยใช้ 'เท้า' ขึ้นมาทำหน้าที่แทนมือ ทั้งการคีบตะเกียบกินข้าว หรือกระทั่งการอ่านหนังสือ ซึ่งคุณย่าของเขากล่าวว่า เด็กชายหลิวต้องใช้เวลาถึง 2 อาทิตย์ กว่าจะสามารถใช้นิ้วเท้าคีบตะเกียบได้อย่างคล่องแคล่ว
ขณะเดียวกันที่โรงเรียน คุณครูของเด็กชายหลิวก็ได้มอบความรักและความดูแลให้แก่เขาเป็นพิเศษ โดยคุณครูกล่าวถึงเด็กชายหลิวว่า ได้เริ่มให้เขาลองหัดเขียนหนังสือด้วยนิ้วเท้า ซึ่งในตอนแรกก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่เด็กชายหลิวกลับยืนกรานที่จะฝึกฝน หลังเลิกเรียนกับครู
และด้วย 'ความพยายาม' บวกกับ 'ความตั้งใจ' ในการฝึกฝนใช้ 'มือพิเศษ' ของตัวเอง ทำให้ในที่สุด เด็กชายหลิวก็สามารถเขียนหนังสือด้วยนิ้วเท้าได้, เหลาดินสอเองได้ หรือแม้กระทั่งปั่นจักรยาน ก็ยังสามารถทำได้เช่นคนปกติ
เด็กชายหลิว ยานโบ ในปัจจุบัน มีความสุข, สดใส เช่นเดียวกับเด็กๆวัยเดียวกันทั่วๆไป เขาสามารถออกไปวิ่งเล่น หรือเต้นรำในงานโรงเรียน โดยยอมให้เพื่อนๆสามารถจับแขนเสื้อแทนมือของเขาได้โดยไม่เขอะเขิน ซึ่ง 'เรื่องเล็กๆ' ของ 'เด็กตัวเล็กๆ' คนนี้ น่าจะทำให้เรามีกำลังใจ ที่จะคิดต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตให้ได้ 'ด้วยมือของเราเอง'
J
ป้ายกำกับ:
กำลังใจ,
เด็กพิการ,
เท้าต่างมือ,
เท้าแทนมือ,
พยายาม,
อุปสรรค,
Luo Yanbo
วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
'อำนาจ' ที่กำลังถูกแย่งชิงคืน
การประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์สิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จของกลุ่มประชาชน ที่สามารถโค่นล้มอำนาจเผด็จการที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนาน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นความสำเร็จครั้งที่สองภายในรอบระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือนของประชาชนในดินแดนอาหรับ ที่หลายประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีนัยยะแอบแฝงว่า 'ไร้เสรี'
มาจนถึงตรงนี้ เมื่อฝันร้ายครั้งที่สองเกิดขึ้นจริงๆ ผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน และบางคณะรัฐมนตรีที่ยึดถือระบอบวิธีคิดเดียวกันในการจัดการกับผู้ถูกปกครอง เช่นในตูนีเซียและอียิปต์ คงต้องหนาวๆร้อนๆกันว่า 'เก้าอี้' ของตนเองจะถูกเลื่อยขาหั่นออกเป็นชิ้นๆ เมื่อไร โดยเฉพาะถ้าหากยังไม่ยอมเปลี่ยนแปลง 'กลยุทธ์' หรือ 'วิธีคิด' ที่ดูถูกผู้คนในปกครอง
เพราะเมื่อระบบการปกครองไม่เอื้อและช่วยเหลือให้ประชาชนได้ถือขนมปัง เมื่อนั้นพวกเขาก็จำเป็นต้องหันไปหยิบจับอาวุธที่เรียกว่า 'มวลชน' ขึ้นมาต่อกร ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลหลายประเทศได้พบบทเรียนราคาแพงมาแล้วว่า 'พลังของประชาชน' นั้นยิ่งใหญ่กว่าตัวพวกเขามากเพียงไร
ที่น่าจับตามองถัดจากอียิปต์คือที่ประเทศเยเมน ซึ่งเกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ประท้วง เมื่อวันเสาร์ที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ขณะที่ ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลย์ ซึ่งปกครองเยเมนมาอย่างยาวนานกว่า 33 ปี หลังจากเห็นตัวอย่างจากทั้งนายเบน อาลีของตูนีเซีย และนายมูบารัคของอียิปต์ จึงรีบหาทางออกมาแก้ลำเรือ ด้วยการประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งในปี 2556 ซึ่งคณะรัฐบาลของเขาจะหมดวาระ
แต่เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าประชาชนที่ออกมาต่อต้านและเรียกร้องในครั้งนี้ ย่อมไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว และเรียกร้องให้นายซาเลย์ ลงจากตำแหน่งใน 'ทันที' โดยวิธีการแก้ไขปัญหาของทางการเยเมนในครั้งนี้ นอกจากจะเกาไม่ถูกที่คันแล้ว ยังถือเป็นความคิดแนวเดียวกับที่นายมูบารัคเคยใช้ก่อนได้พบว่า การประกาศลงจากตำแหน่งในอนาคตอัน 'ไกล' นั้น ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ไหนคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเลย
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ของตูนีเซีย, อียิปต์ และเยเมน เป็นเรื่องที่ต่างกรรม ต่างวาระ จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า สถานการณ์ของเยเมน จะเดินไปในทิศทางและมีบทสรุปเดียวกับ เหตุการณ์ปฏิวัติครั้งใหญ่ใน 2 ประเทศที่กล่าวมา
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็พอจะทำให้เราเห็นภาพรวมที่ว่า รัฐบาลใดที่ยึดครองอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว, จับกุมหน่วงเหนี่ยว 'ผู้ที่คิดเห็นแตกต่าง' ในสังคม บวกผสมกับ 'สายตาสั้น' มองไม่เห็นความทุกข์ร้อนของประชาชน เมื่อนั้นอำนาจที่ประชาชนให้ไปไว้ในมือ ก็จำเป็นต้องถูกช่วงชิงคืนกลับไป
J
มาจนถึงตรงนี้ เมื่อฝันร้ายครั้งที่สองเกิดขึ้นจริงๆ ผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน และบางคณะรัฐมนตรีที่ยึดถือระบอบวิธีคิดเดียวกันในการจัดการกับผู้ถูกปกครอง เช่นในตูนีเซียและอียิปต์ คงต้องหนาวๆร้อนๆกันว่า 'เก้าอี้' ของตนเองจะถูกเลื่อยขาหั่นออกเป็นชิ้นๆ เมื่อไร โดยเฉพาะถ้าหากยังไม่ยอมเปลี่ยนแปลง 'กลยุทธ์' หรือ 'วิธีคิด' ที่ดูถูกผู้คนในปกครอง
เพราะเมื่อระบบการปกครองไม่เอื้อและช่วยเหลือให้ประชาชนได้ถือขนมปัง เมื่อนั้นพวกเขาก็จำเป็นต้องหันไปหยิบจับอาวุธที่เรียกว่า 'มวลชน' ขึ้นมาต่อกร ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลหลายประเทศได้พบบทเรียนราคาแพงมาแล้วว่า 'พลังของประชาชน' นั้นยิ่งใหญ่กว่าตัวพวกเขามากเพียงไร
ที่น่าจับตามองถัดจากอียิปต์คือที่ประเทศเยเมน ซึ่งเกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ประท้วง เมื่อวันเสาร์ที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ขณะที่ ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลย์ ซึ่งปกครองเยเมนมาอย่างยาวนานกว่า 33 ปี หลังจากเห็นตัวอย่างจากทั้งนายเบน อาลีของตูนีเซีย และนายมูบารัคของอียิปต์ จึงรีบหาทางออกมาแก้ลำเรือ ด้วยการประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งในปี 2556 ซึ่งคณะรัฐบาลของเขาจะหมดวาระ
แต่เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าประชาชนที่ออกมาต่อต้านและเรียกร้องในครั้งนี้ ย่อมไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว และเรียกร้องให้นายซาเลย์ ลงจากตำแหน่งใน 'ทันที' โดยวิธีการแก้ไขปัญหาของทางการเยเมนในครั้งนี้ นอกจากจะเกาไม่ถูกที่คันแล้ว ยังถือเป็นความคิดแนวเดียวกับที่นายมูบารัคเคยใช้ก่อนได้พบว่า การประกาศลงจากตำแหน่งในอนาคตอัน 'ไกล' นั้น ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ไหนคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเลย
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ของตูนีเซีย, อียิปต์ และเยเมน เป็นเรื่องที่ต่างกรรม ต่างวาระ จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า สถานการณ์ของเยเมน จะเดินไปในทิศทางและมีบทสรุปเดียวกับ เหตุการณ์ปฏิวัติครั้งใหญ่ใน 2 ประเทศที่กล่าวมา
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็พอจะทำให้เราเห็นภาพรวมที่ว่า รัฐบาลใดที่ยึดครองอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว, จับกุมหน่วงเหนี่ยว 'ผู้ที่คิดเห็นแตกต่าง' ในสังคม บวกผสมกับ 'สายตาสั้น' มองไม่เห็นความทุกข์ร้อนของประชาชน เมื่อนั้นอำนาจที่ประชาชนให้ไปไว้ในมือ ก็จำเป็นต้องถูกช่วงชิงคืนกลับไป
J
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
'City of Joy' เพื่อเสียงที่ดังกว่า
เหยื่อที่ถูกข่มขืน ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งในสาธารณรัฐคองโก โดยมากต้องมีชีวิตเหลืออยู่ด้วยความอับอายในความผิดที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ก่อ ขณะที่ผลตอบแทนของหญิงบางรายที่ยอมถูกข่มขืนเพื่อจะปกป้องสามีไม่ให้ถูกทำร้ายหรือฆ่า คือการถูกทิ้งให้ต้องเป็นม่ายอยู่ตามลำพัง
ชีวิตภายหลังเหตุการณ์ที่เลวร้าย คือสถานการณ์ไร้ที่พึ่ง หรือทางออกของเหยื่อ ทำให้หลายต่อหลายชีวิต เลือกที่จะจบบทบาทของตัวเองลง เมื่อตระหนักได้ว่า เสียงที่ยังเหลืออยู่ของพวกเขาคือ 'ความเงียบ'
จนกระทั่งเมื่อประมาณปลายอาทิตย์ก่อน องค์กรการกุศล วี เดย์, มูลนิธิ Panzi และองค์การสหประชาชาติ ได้จัดตั้งสถานบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจเหยื่อเหตุการณ์ข่มขืน ที่ชื่อ 'ซิตี้ ออฟ จอย' ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการช่วยเหลือ และเปิดโอกาสให้เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้มีที่ทางในการระบายความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ในอดีต
โดยหญิงสาวที่เข้ามาในสถานบำบัดจะได้รับการต้อนรับ และดูแลจากเจ้าหน้าที่ รวมถึงเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันในการแบ่งปันเรื่องราว, ส่งเสริม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไปพร้อมๆกับการสร้างเสริมทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงการให้การศึกษาด้วย
โครงการ 'ซิตี้ ออฟ จอย' คาดหวังว่าจะสามารถรองรับและช่วยเหลือหญิงสาวที่ถูกทำทารุณกรรมทางเพศได้มากกว่า 180 คนต่อปี และมีเป้าหมายสูงสุดคือการรวมตัวกัน เพื่อ 'ตะโกน' บอกเล่าเรื่องราวความเลวร้ายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในคองโก ให้เพื่อนร่วมโลกทุกคนได้รับรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปลายทาง คือการยุติสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำต่อกันและกันได้
เมฆหมอกแห่งฝันร้ายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2541 หลังจากที่กลุ่มชนชาวรวันดากว่าล้านคน หนีภัยสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เข้าไปยังดินแดนแถบคองโกตะวันออก ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ปัญหาความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างเชื้อชาติคองโก และรวันดา
โดยขณะที่ทั้งสองฝ่าย ต่างเริ่มใช้กองกำลังทหารเข้าต่อสู้ปะทะกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 'การข่มขืน' ได้ถูกนำมาใช้เป็น 'อาวุธ' ชิ้นสำคัญ เพื่อเข้าควบคุม, ข่มขวัญ รวมถึงทำลายเกียรติของเหยื่อ และครอบครัวฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีผลอย่างมากในทางจิตวิทยา
จนทำให้เหตุการณ์ 'ข่มขืนหมู่' ได้กลายมาเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถานการณ์ความขัดแย้งในคองโกตะวันออก และนางมาร์ก็อต วอลล์สตอร์ม หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็น ถึงกับนิยาม คองโก ไว้อย่างหดหู่ ว่าเป็น 'เมืองหลวงแห่งการข่มขืนของโลก'
ซึ่งจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ เผยให้เห็นว่า เมื่อปี 2009 มีผู้หญิงชาวคองโกถูกข่มขืน ภายในปีเดียวเป็นจำนวนมากกว่า 15,000 ราย ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว กองกำลังไม่ทราบฝ่ายได้บุกเข้าไปในหมู่บ้านฟิซี่ ของสาธารณรัฐคองโก และข่มขืนชาวบ้านทั้งหญิงชาย รวมถึงเด็กๆกว่า 100 คน
โดยนักวิเคราะห์หลายฝ่ายต่างมองว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านยังต้องประสบปัญหานี้อยู่อย่างต่อเนื่องก็คือ การขาดกองกำลังรักษาความปลอดภัย ที่มีประสิทธิภาพมากพอจะหยุดยั้งสถานการณ์เลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้
ชีวิตภายหลังเหตุการณ์ที่เลวร้าย คือสถานการณ์ไร้ที่พึ่ง หรือทางออกของเหยื่อ ทำให้หลายต่อหลายชีวิต เลือกที่จะจบบทบาทของตัวเองลง เมื่อตระหนักได้ว่า เสียงที่ยังเหลืออยู่ของพวกเขาคือ 'ความเงียบ'
จนกระทั่งเมื่อประมาณปลายอาทิตย์ก่อน องค์กรการกุศล วี เดย์, มูลนิธิ Panzi และองค์การสหประชาชาติ ได้จัดตั้งสถานบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจเหยื่อเหตุการณ์ข่มขืน ที่ชื่อ 'ซิตี้ ออฟ จอย' ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการช่วยเหลือ และเปิดโอกาสให้เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้มีที่ทางในการระบายความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ในอดีต
โดยหญิงสาวที่เข้ามาในสถานบำบัดจะได้รับการต้อนรับ และดูแลจากเจ้าหน้าที่ รวมถึงเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันในการแบ่งปันเรื่องราว, ส่งเสริม และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไปพร้อมๆกับการสร้างเสริมทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงการให้การศึกษาด้วย
โครงการ 'ซิตี้ ออฟ จอย' คาดหวังว่าจะสามารถรองรับและช่วยเหลือหญิงสาวที่ถูกทำทารุณกรรมทางเพศได้มากกว่า 180 คนต่อปี และมีเป้าหมายสูงสุดคือการรวมตัวกัน เพื่อ 'ตะโกน' บอกเล่าเรื่องราวความเลวร้ายของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในคองโก ให้เพื่อนร่วมโลกทุกคนได้รับรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปลายทาง คือการยุติสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำต่อกันและกันได้
เมฆหมอกแห่งฝันร้ายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2541 หลังจากที่กลุ่มชนชาวรวันดากว่าล้านคน หนีภัยสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เข้าไปยังดินแดนแถบคองโกตะวันออก ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ปัญหาความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างเชื้อชาติคองโก และรวันดา
โดยขณะที่ทั้งสองฝ่าย ต่างเริ่มใช้กองกำลังทหารเข้าต่อสู้ปะทะกันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 'การข่มขืน' ได้ถูกนำมาใช้เป็น 'อาวุธ' ชิ้นสำคัญ เพื่อเข้าควบคุม, ข่มขวัญ รวมถึงทำลายเกียรติของเหยื่อ และครอบครัวฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีผลอย่างมากในทางจิตวิทยา
จนทำให้เหตุการณ์ 'ข่มขืนหมู่' ได้กลายมาเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถานการณ์ความขัดแย้งในคองโกตะวันออก และนางมาร์ก็อต วอลล์สตอร์ม หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็น ถึงกับนิยาม คองโก ไว้อย่างหดหู่ ว่าเป็น 'เมืองหลวงแห่งการข่มขืนของโลก'
ซึ่งจากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ เผยให้เห็นว่า เมื่อปี 2009 มีผู้หญิงชาวคองโกถูกข่มขืน ภายในปีเดียวเป็นจำนวนมากกว่า 15,000 ราย ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว กองกำลังไม่ทราบฝ่ายได้บุกเข้าไปในหมู่บ้านฟิซี่ ของสาธารณรัฐคองโก และข่มขืนชาวบ้านทั้งหญิงชาย รวมถึงเด็กๆกว่า 100 คน
โดยนักวิเคราะห์หลายฝ่ายต่างมองว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านยังต้องประสบปัญหานี้อยู่อย่างต่อเนื่องก็คือ การขาดกองกำลังรักษาความปลอดภัย ที่มีประสิทธิภาพมากพอจะหยุดยั้งสถานการณ์เลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้
ขณะเดียวกับที่ทางการของคองโกเอง ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความไม่โปร่งใส และการคอรัปชั่นภายในวงการยุติธรรม ซึ่งพบว่า ผู้ต้องหาจำนวนมาก มักรอดพ้นจากข้อกล่าวหาคดีข่มขืนไปได้อย่างลอยนวล โดยเฉพาะนายตำรวจหรือนายทหารระดับสูงบางราย ซึ่งแม้จะถูกชาวบ้านที่อยู่ในที่เกิดเหตุหลายคน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมสั่งการในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ แต่ก็ยังไม่มีใครจับกุมนำตัวไปสอบสวนเพิ่มเติม
J
ป้ายกำกับ:
ข่มขืน,
คองโก,
ทารุณกรรมทางเพศ,
รวันดา,
สงคราม,
สหประชาชาติ,
City of Joy
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
'Decade of Vaccines' ยุคแห่งการต่อสู้โรคร้าย
หลังจากช่วงปลายปีที่แล้ว 'บิล แอนด์ เมลินดา เกตส์' องค์กรการกุศลระดับมหาเศรษฐีของโลก ได้ประกาศความตั้งใจในการสนับสนุนเงินจำนวน หนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ สามแสนหนึ่งหมื่นล้านบาท ให้กับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงสนับสนุนส่งมอบความเหลือให้กับประชาชนในประเทศที่ยากจน ได้มีโอกาสเข้าถึง 'วัคซีน' ภายใต้โครงการที่ชื่อ 'เดเคต ออฟ วัตซีน'
มาในปีนี้ บิล เกตส์ได้ออกจดหมายอธิบาย 'ความสำคัญของวัคซีน' ในรูปแบบวิดีโอภาพแอนิเมชั่นดูง่ายแต่มีสาระ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใจความสำคัญของวัคซีนที่มีต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเด็กๆที่จะกลายเป็นพลเมืองโลกอนาคต ให้หลุดพ้นจากโรคร้ายบางชนิด
โดยความหัศจรรย์ของวัคซีน สามารถพิสูจน์ได้จาก การรักษาโรคหัด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรค ที่มีอัตราการแพร่ระบาด ง่ายและรวดเร็วที่สุดโรคหนึ่ง ซึ่งเพียงการฉีดวัคซีนสองครั้ง ก็สามารถสร้างเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคชนิดนี้ได้ตลอดชีวิต โดยราคาทั้งหมดของค่าวัคซีนคิดเป็นเงินเพียงครั้งละ 18 เซนต์ หรือประมาณ 6 บาทเท่านั้น ความสำเร็จของวัคซีนต้านเชื้อหัดช่วยลดตัวเลขผู้ติดเชื้อ 2,500,000 ราย เหลือเพียง 200,000 ราย ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 ปี
เช่นเดียวกับโรคโปลิโอ ซึ่งแทบจะไม่มีใครรู้ว่าในปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อทั้งโลกคิดเป็นอัตราส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 ซึ่งต้องชื่นชมความมุ่งมั่นของอาสาสมัครและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในความร่วมมือที่ต้องการจะขจัดเชื้อโปลิโอให้หายไปจากโลก เหมือนกับที่มนุษย์เคยสามารถจัดการกับโรคฝีดาษได้
กรณีที่น่าสนใจของการเผชิญหน้าวัคซีนกับโปลิโอคือที่อินเดีย หนึ่งในประเทศที่ยังพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่จากความพยายามของอาสาสมัครกว่า 2 ล้านคน ที่จัดตั้งแผงและเต็นท์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลีโอขึ้น 800,000 แห่งทั่วประเทศ
จากหนึ่งเป็นสอง และจากสองเป็นสาม จนทำให้ในที่สุด ความช่วยเหลือได้ตกไปถึงชาวอินเดียกว่า 2 ร้อยล้านครัวเรือน และในปี 2010 เหลือเพียงเด็ก 41 คนเท่านั้น ที่ยังมีอาการติดเชื้อไวรัสที่มีผลทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังในมนุษย์
แต่ความสำเร็จ ยังไม่อาจทำให้เรา 'วางมือ' หรือ 'หยุด' คิดถึงการจัดการกับปัญหาโรคระบาดได้ เนื่องจากสองสาเหตุหลักสำคัญ นั่นคือ ข้อแรก จำนวนตัวเลขของผู้ติดเชื้อ จะสามารถพุ่งสูงขึ้นได้ตลอดเวลาที่ขาดการควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย ซึ่งไม่พบผู้ติดเชื้อมาหลายปี จนกระทั่งกลับมาแพร่ระบาดเมื่อปีที่แล้ว
และข้อสอง คือ การที่เราสามารถนำความสำเร็จที่ได้รับการพิสูจน์ในครั้งนี้ ไปสร้างเป็นแรงบันดาลใจ และกระตุ้นกระแสสนใจจากผู้คนทั่วโลก ให้ลุกขึ้นมาร่วมมือต่อสู้ คิดค้นหาวิธีที่จะทำให้พลเมืองโลกในอนาคตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
โดยเมื่อเราสามารถขจัดภัยที่มาจากโรคร้ายต่างๆ ให้สูญสิ้นไปจากโลกได้เมื่อไร นั่นจะถือเป็นชัยชนะที่สำคัญและน่าภาคภูมิของมวลมนุษยชาติ ที่สะท้อนให้เห็นแง่มุมอันงดงาม ในความพยายามที่จะช่วยเหลือกันและกันระหว่างผู้คน
Source: thegatesnotes.com // en.wikipedia.org // thaigcd.ddc.moph.go.th // gatesfoundation.org
J
มาในปีนี้ บิล เกตส์ได้ออกจดหมายอธิบาย 'ความสำคัญของวัคซีน' ในรูปแบบวิดีโอภาพแอนิเมชั่นดูง่ายแต่มีสาระ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใจความสำคัญของวัคซีนที่มีต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเด็กๆที่จะกลายเป็นพลเมืองโลกอนาคต ให้หลุดพ้นจากโรคร้ายบางชนิด
โดยความหัศจรรย์ของวัคซีน สามารถพิสูจน์ได้จาก การรักษาโรคหัด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรค ที่มีอัตราการแพร่ระบาด ง่ายและรวดเร็วที่สุดโรคหนึ่ง ซึ่งเพียงการฉีดวัคซีนสองครั้ง ก็สามารถสร้างเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคชนิดนี้ได้ตลอดชีวิต โดยราคาทั้งหมดของค่าวัคซีนคิดเป็นเงินเพียงครั้งละ 18 เซนต์ หรือประมาณ 6 บาทเท่านั้น ความสำเร็จของวัคซีนต้านเชื้อหัดช่วยลดตัวเลขผู้ติดเชื้อ 2,500,000 ราย เหลือเพียง 200,000 ราย ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 ปี
เช่นเดียวกับโรคโปลิโอ ซึ่งแทบจะไม่มีใครรู้ว่าในปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อทั้งโลกคิดเป็นอัตราส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 ซึ่งต้องชื่นชมความมุ่งมั่นของอาสาสมัครและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในความร่วมมือที่ต้องการจะขจัดเชื้อโปลิโอให้หายไปจากโลก เหมือนกับที่มนุษย์เคยสามารถจัดการกับโรคฝีดาษได้
กรณีที่น่าสนใจของการเผชิญหน้าวัคซีนกับโปลิโอคือที่อินเดีย หนึ่งในประเทศที่ยังพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่จากความพยายามของอาสาสมัครกว่า 2 ล้านคน ที่จัดตั้งแผงและเต็นท์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลีโอขึ้น 800,000 แห่งทั่วประเทศ
จากหนึ่งเป็นสอง และจากสองเป็นสาม จนทำให้ในที่สุด ความช่วยเหลือได้ตกไปถึงชาวอินเดียกว่า 2 ร้อยล้านครัวเรือน และในปี 2010 เหลือเพียงเด็ก 41 คนเท่านั้น ที่ยังมีอาการติดเชื้อไวรัสที่มีผลทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังในมนุษย์
แต่ความสำเร็จ ยังไม่อาจทำให้เรา 'วางมือ' หรือ 'หยุด' คิดถึงการจัดการกับปัญหาโรคระบาดได้ เนื่องจากสองสาเหตุหลักสำคัญ นั่นคือ ข้อแรก จำนวนตัวเลขของผู้ติดเชื้อ จะสามารถพุ่งสูงขึ้นได้ตลอดเวลาที่ขาดการควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย ซึ่งไม่พบผู้ติดเชื้อมาหลายปี จนกระทั่งกลับมาแพร่ระบาดเมื่อปีที่แล้ว
และข้อสอง คือ การที่เราสามารถนำความสำเร็จที่ได้รับการพิสูจน์ในครั้งนี้ ไปสร้างเป็นแรงบันดาลใจ และกระตุ้นกระแสสนใจจากผู้คนทั่วโลก ให้ลุกขึ้นมาร่วมมือต่อสู้ คิดค้นหาวิธีที่จะทำให้พลเมืองโลกในอนาคตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
โดยเมื่อเราสามารถขจัดภัยที่มาจากโรคร้ายต่างๆ ให้สูญสิ้นไปจากโลกได้เมื่อไร นั่นจะถือเป็นชัยชนะที่สำคัญและน่าภาคภูมิของมวลมนุษยชาติ ที่สะท้อนให้เห็นแง่มุมอันงดงาม ในความพยายามที่จะช่วยเหลือกันและกันระหว่างผู้คน
Source: thegatesnotes.com // en.wikipedia.org // thaigcd.ddc.moph.go.th // gatesfoundation.org
J
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)