วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ไอน์สไตน์ ยังไม่ตาย

My Brainstorm

คำพูดประโยคที่ว่า 'จินตนาการสำคัญกว่าความรู้' กลายเป็นประโยคคลาสสิค ที่ทำลายกำแพง ซึ่งขวางกั้นวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ออกจากกัน ไม่น่าเชื่อว่าประโยคที่มีลักษณะปรัชญาศิลปะ กลับหลุดออกมาจากปากของนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง

ผู้ได้ชื่อว่าโด่งดังที่สุด ความน่าสนใจของผู้กล่าวประโยคนี้ อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

จนเกิดเป็นความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม รูปแบบใหม่
มีผลงานทางวิทยาศาสตร์กว่า 300 ชิ้น และงานประเภทอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับอีกมากกว่า 150 ชิ้น

นำคำว่า ความฉลาด หรืออัจฉริยะ ไปจดทะเบียนเตรื่องหมายการค้า ในนาม

ชื่อของเขา

และมีคนนำชื่อของเขา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่แปลว่า ความฉลาด หรืออัจฉริยะ
รวมถึงเป็นผู้ที่กล่าวประโยคคลาสสิคอย่าง 'จินตนาการสำคัญหว่าความรู้'

ชาย ที่ชื่อถูกจดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า นิยามว่า 'ความฉลาดหรืออัจฉริยะ' ทีมข่าว วอยส์ โฟกัส จึงขอนำคุณผู้ชมไปทำ

ต่อมา ปี 2551 ไอน์สไตน์

ทฤษฏี ที่ทำให้ใครหลายคนจดจำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้ คือทฤษฏีสัมพันธภาพ ซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อปี 2458 ขณะที่

ความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สนใจคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาอายุได้ 5 ปี โดยพ่อของเขาได้นำเข็มทิศมาให้เล่น ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่เด็กชายไอน์สไตน์เป็นอย่างมากว่า ทำไมเข็มทิศจึงต้องหันไปทางทิศเหนือ และนับตั้งแต่นั้นมา เขาก็มุ่งมั่นศึกษามันเรื่อยมา

ทฤษฏีสัมพันธภาพ เป็น

จนกระทั่ง ไอน์สไตน์อายุได้ 29 ปี เขาก็ได้เริ่มทำงานเป็นอาจารย์สมใจ โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเบิร์น ก่อนย้ายไปที่ซูริกในปีต่อมา และได้เปลี่ยนไปทำการสอนในสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ทั้งในและนอกสวิตเซอร์แลนด์

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยมีวิชาเอกคือวิชาฟิสิกส์ เมื่อปี 2443 และได้รับสิทธิ์เป็นพลเมืองสวิสในปี 2444 หลังจากอพยพย้ายตามครอบครัวมาตั้งแต่ปี 2438


;p


หลังจากพยายามมาอยู่นานแสนนาน ในที่สุดก็เขียนออกมาได้...




ไอน์สไตน์ ยังไม่ตาย

CG1 ประเด็น: ไอน์สไตน์ ยังไม่ตาย
Anchor-ผู้ประกาศ
หากกล่าวถึงคำว่า 'อัจฉริยะ' หลายคนต้องนึกถึงชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นลำดับแรกๆ วันที่ 18 เมษายน เป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเขา วอยส์ โฟกัสจึงขอนำท่านไปรู้จักกับบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็น 'บุคคลแห่งศตวรรษ' คนนี้

เทป
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี 2422 ในเมืองวืร์ตแตมแบร์ก ประเทศเยอรมนี วัยเด็ก ไอน์สไตน์ต้องเผชิญปัญหา ความพิการทางการอ่านหรือเขียน เนื่องจากโครงสร้างสมองที่ไม่ปกติ ความผิดปกติทางร่างกาย ทำให้เขาเป็นหนึ่งในนักเรียนที่ถูกมองว่าเป็นพวกเรียนรู้ช้า แต่ความเชื่องช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ กลับทำให้ไอน์สไตน์รู้สึกว่า เขามีเวลาครุ่นคิดถึงอวกาศและเวลามากขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาทฤษฏีเหล่านั้น ในเวลาต่อมา

ไอน์สไตน์เริ่มศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ เมื่ออายุได้ 12 ปี โดยมีลุงเป็นผู้ให้คำแนะนำ จนกระทั่งอายุได้ 16 ปี เขาก็สามารถเรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้หลายอย่าง รวมถึงหลักการทางฟิสิกส์อีกมากมาย

ไอน์สไตน์เคยต้องตกงานถึงเกือบ 2 ปี หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย ก่อนได้โอกาสเข้าทำงานในสำนักงานสิทธิบัตรของกรุงเบิร์น ช่วงเวลานี้ เขามีโอกาสร่วมกลุ่มชมรมกับเพื่อน เพื่อพูดคุยปรึกษา เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ รวมถึงหนังสือและงานเขียนต่างๆ ซึ่งสุดท้าย ได้ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาต่อตัวไอน์สไตน์มากมาย

ปี 2448 ถือเป็นปีแห่งการเริ่มต้นความสำเร็จของไอน์สไตน์ โดยบทความทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้ถูกนำไปตีพิมพ์ผ่านทางวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ และถือเป็นการค้นพบทฤษฏีที่ยิ่งใหญ่ถึง 3 ทฤษฏี คือ ทฤษฎีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก, ทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด ความเชื่อทั้งในเรื่องพื้นที่, เวลา และสสาร ของโลกวิทยาศาสตร์สมัยก่อน

ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี 2464 จากคำอธิบายปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริก ต่อมาในปี 2476 เขาหลบหนีออกจากเยอรมนี และขอยกเลิกสัญชาติเยอรมัน ด้วยเหตุผลทางการเมือง ก่อนบินไปทำงานเป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ ให้กับมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไอน์สไตน์เป็นหนึ่งในผู้นำการรณรงค์ต่อต้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธที่ถูกพัฒนามาจากสมการ e=mc2 หนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของเขา

ไอน์สไตน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายน ปี 2498 ด้วยโรคหัวใจ ทิ้งไว้แต่เพียงผลงาน ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของโลกมากมาย ซึ่งยังไม่รวมถึงอิทธิพลต่อแนวความคิดในการใช้ชีวิตทั่วไป เช่นความเรียบง่าย หรือวาทะอย่าง 'จินตนาการสำคัญกว่าความรู้' ที่ทำลายขอบกั้นโลกวิทยาศาสตร์กับศิลปะลงอย่างราบคาบ

ไอน์สไตน์จากโลกไปแล้ว 56 ปี แต่ทฤษฏีแนวคิดทั้งศาสตร์และศิลป์ ยังเป็นต้นแบบที่คนจำนวนมากทั้งในและนอกวงการวิทยาศาสตร์ยังนับถือ และระลึกถึงอยู่เสมอ




อาจจะไม่เกี่ยวกับบทความโดยตรง... แต่สนุกดี...





J

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

'Martin Luther King Jr.' คนดีไม่สมบูรณ์แบบ

'I have a dream that my four children will one day live in the nation where they will not be judged by the color of their skin but by the content of their character ' : Martin Luther King Jr.

'ข้าพเจ้ามีความฝันว่า ในวันหนึ่ง ลูกๆทั้ง 4 คนของข้าพเจ้าจะสามารถยืนอยู่บนแผ่นดินนี้ โดยไม่มีใครตัดสินพวกเขา ด้วยเนื้อสีของผิว หากแต่ด้วยเนื้อหนังแห่งลักษณะนิสัย ' : มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์




มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นที่จดจำของคนทั้งโลก โดยเฉพาะในฐานะนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของคนผิวดำในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยสันติวิธี ตามแบบอย่างของมหาตมะ คานธี และแม้เขาจะเคยถูกต้องโทษจำคุกมาหลายครั้ง แต่ใช่ว่า 'เสียง' ของเขาจะไม่เคยมีใครสนใจหรือได้ยิน

คิง ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีความสามารถทางด้านการพูดมากที่สุดคนหนึ่ง โดยมีคำกล่าวสุนทรพจน์ชิ้นที่ยังถูกกล่าวถึง และเป็นที่จดจำจวบจนทุกวันนี้ คือ 'I have a dream' หรือ 'ข้าพเจ้ามีความฝัน' กล่าวระหว่างการชุมนุมเรียกร้องสิทธิคนผิวดำในปี 2506 กลางกรุงวอชิงตัน ดีซี มีผู้เข้าร่วมฟังกว่า 200,000 คน



ข้อเรียกร้องของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการยอมรับในปี 2507 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยอมออกกฏหมายให้ สิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกสีผิว และมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในวัย 35 ปี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลนี้

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงจนถึงแก่ชีวิตในปี 2511 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นเวลาร่วมปีแล้ว ที่กลุ่มชุมชนผิวขาวนิยม เปิดเผยรายงานโจมตีคิง ว่า เป็นพวกขี้เหล้า และมีชู้ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนหลายฝ่ายต้องประหลาดใจ และเสียความรู้สึก

จนกระทั่งวันครบรอบ 43 ปี การจากไปของเขา เมื่อวานนี้ หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสท์ ได้เผยแพร่บทความของ Hampton Sides ที่พยายามกล่าวถึงแง่มุมอีกด้านหนึ่ง โดยนำเสนอบทวิเคราะห์ผสมบทสัมภาษณ์อดีตชู้รักของคิง ว่า มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีความผิดพลาด, มีจุดอ่อน, มีความหิวกระหาย และมีความตึงเครียด เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่ข้อบกพร่องเหล่านั้น ไม่ได้มีค่ามากไปกว่าสิ่งที่เขาได้สร้างไว้ให้แก่โลกใบนี้

ความสำคัญของเรื่องนี้อาจเหมือนกับที่ Cord Jefferson บรรณาธิการวัฒนธรรมเว็บไซต์ good.is กล่าวไว้ว่า บุคคลที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้มีความหมายว่าต้องสมบูรณ์แบบ เพราะทั้งโทมัส เจฟเฟอร์สัน ยอมรับระบบทาส หรือจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็มีชู้รักมากมาย

Cord Jefferson จบบทความโดยอ้างอิงจากคำพูดของ Hampton Sides ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า

'By calling our heroes superhuman we also let ourselves off the hook: Why do the hard work of bettering the world if that’s something only saints do?'

'เรียกวีรบุรุษของเรา ว่ายอดมนุษย์ เท่ากับการปัดตัวเราเอง จากความรับผิดชอบต่อบางสิ่งบางอย่าง เพราะเราจะต้องพยายามทำโลกนี้ให้งดงามขึ้นทำไม ในเมื่อมีกลุ่มนักบุญ ที่ปราศจากความชั่วร้ายเท่านั้นที่ทำได้ '

หรือความเป็นจริง เราอาจสามารถปรุงแต่งโลกนี้ให้ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สมบูรณ์แบบเสมอไป





J

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

จัดเรตติ้งไทย จัดระเบียบเสรีภาพ




การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในสังคมโลกตะวันตก มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือการกำหนดจำแนกความเหมาะสมสำหรับผู้ชม ทั้งในแง่ของเพศสถานะ, ความรุนแรง หรือการใช้ยาเสพติด รวมไปถึงลักษณะเนื้อหาภาพยนตร์บางเรื่อง ที่เป็นลักษณะเฉพาะสำหรับ 'วัยผู้ใหญ่' เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและเยาวชน ​ไม่​ให้​ต้อง​เผชิญ​กับ​สิ่ง​ไม่​เหมาะสมที่ถูกสังคมนำ​เสนอ ทั้งนี้ ในสังคมของประเทศที่ใช้ระบบเรตติ้งเอง ก็มักมีความแตกต่างกันในด้านของน้ำหนักว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควร เช่นที่สหรัฐฯ ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ มักถูกกำหนดให้มีระดับเรตติ้งที่ค่อนข้างสูงกว่า ระดับความเข้มข้นเดียวกันของภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเรื่องความรุนแรง ขณะที่ในเยอรมนี ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาหรือภาพที่รุนแรง มักถูกเลื่อนระดับให้มีเรตติ้งที่สูงกว่า

การจัดเรตติ้ง มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับเด็กและเยาวชน โดยจากผลการวิจัยของนักมานุษยวิทยาพบว่า

เด็กเล็กอายุ 3-5 ปี จะแยกแยะบทบาทจริงและบทบาทสมมติไม่ได้
เด็กอายุ 6-12 ปี จะแยกบทบาทจริงและบทบาทสมมติได้ไม่ดี
เด็กอายุ 13-18 ปี เป็นวัยที่กำลังหาแบบอย่างให้แก่ตัวเอง
เด็กวัย 18 ปี ขึ้นไป เริ่มมีความคิดความอ่านแบบผู้ใหญ่

การจัดเรตติ้ง จึงเป็นเสมือนกำแพงป้องกันสิ่งแปลกปลอม ก่อนถึงวัยที่เด็ก จะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆได้

ในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการใช้ระบบเรตติ้งตั้งแต่ปี 2511 เพื่อให้คำแนะนำกับผู้ปกครองสำหรับภาพยนตร์ เรื่องที่เด็กและเยาวชนควรและไม่ควรดู แบ่งเป็น

G สำหรับทุกเพศทุกวัย
PG สำหรับทุกเพศทุกวัย แต่เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ควรอยู่ในการแนะนำของผู้ปกครอง
PG-13 เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรอยู่ในการแนะนำของผู้ปกครอง
R เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี ต้องเข้าชมพร้อมกับผู้ปกครองที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
NC-17 เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามดู

ทั้งนี้ การจัดเรตติ้งของสหรัฐฯ ไม่ใช่มาตรการบังคับที่ถูกตราเป็นกฎหมาย ดังนั้น ระบบเรตติ้งจึงมีคุณค่าเสมือนคำแนะนำสำหรับเลือก 'สาร' ให้แก่เด็กและเยาวชน โดยไม่ได้มีความหมายใดๆเลยกับบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ซึ่งถูกมองว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว

ส่วนที่เยอรมนี ใช้ระบบเรตติ้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันเด็ก และเยาวชนจากสื่อที่มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยง โดยมีสถาบันจัดเรตติ้งชื่อว่า FSK แต่ไม่ได้มีกฎหมายให้ผู้ผลิตต้องส่งตรวจสอบ เป็นเพียงความสมัครใจของสื่อหรือภาพยนตร์ใด ที่ต้องการแสดงต่อสาธารณชนว่า เยาวชนสามารถเข้าถึงผลงานของตนได้ ซึ่งสื่อที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ชัดเจน จะถูกห้ามไม่ให้ยื่นขอพิจารณาจัดเรตติ้งสำหรับเยาวชน

FSK 0 สำหรับทุกเพศทุกวัย
FSK 6 สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป
FSK 12 สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป
FSK 16 สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป
FSK 18 เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามดู

ทั้งนี้ การกำหนดมอบเรตติ้งต่างๆให้แก่ภาพยนตร์แต่ละเรื่อง จะมีข้อกำหนดที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมในการใช้อธิบายการตัดสินมากมาย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้ง 2 ประเทศ แม้รายละเอียดบางส่วนจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ จุดมุ่งหมายของการจัดเรตนั้น ทำไปเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน เท่านั้น ไม่มีข้อกำหนดหรือคำแนะนำไหน ที่ออกมาใช้ควบคุมคนดูกลุ่มที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ เช่นการประกาศห้ามฉาย

ในส่วนของประเทศไทย พึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหันมาใช้ระบบเรตติ้ง แทนระบบเซนเซอร์ เมื่อราวปี 2552 หลังความพยายามต่อสู้กันมาอย่างยาวนานของคนทำหนัง โดยเริ่มปะทุเป็นกระแสสังคม หลังภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ของ เจ้ย, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ถูกตัดเนื้อหาบางส่วนที่เจ้าหน้าที่กองเซนเซอร์มองว่าไม่เหมาะสมต่อสังคมไทย ซึ่งเมื่อตัวเจ้าของผลงานไม่ยอมรับคำตัดสิน นำไปสู่การลุกขึ้นสู้ ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพของคนทำหนัง ซึ่งอาจอ้างอิงไปถึงคนดูหนังด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน ประเทศไทยหันมาใช้ระบบเรตติ้ง โดยแบ่งเป็น 7 เรต คือ

ส ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งเริมการดู
ท เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป
น 13+ เหมาะสมกับผู้ที่อายุมากกว่า 13 ปี ขึ้นไป
น 15+ เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป
น 18+ เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ขึ้นไป
ฉ 20+ เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามดู ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
ห ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรไทย

แต่เหมือนนั่งพายเรื่ออยู่ภายในอ่าง เมื่อปัญหาและข้อถกเถียงถึงตัวกฎหมายการจัดเรตติ้ง ยังคงเป็นที่ถกเถียง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการจัดเรต ห ให้กับภาพยนตร์เรื่อง Insect in the Backyard คำถามหาเหตุผล ของการกระทำดังกล่าว 'อย่างเป็นรูปธรรม' จึงเกิดขึ้น ทำให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นาย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ต้องเขียนจดหมายชี้แจงต่อสังคมว่า

'ภาพยนตร์จะได้ฉายหรือไม่ เป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น และดำรงอยู่ในสังคมต่อไป และเรื่องเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต ปัญหาที่ซ่อนอยู่และน่าเป็นห่วงในความเห็นของผู้เขียนคือ การที่เราไม่กล้าวินิจฉัยว่า สิ่งไหน 'ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน' โดยให้เหตุผลว่า 'ศีลธรรมอันดีของประชาชน' กว้างเกินไปจนไม่สามารถหาบรรทัดฐานมาตรวจวัดได้ เลยไม่กล้าวางบรรทัดฐานทางศีลธรรม'

'สังคมไทยอยู่ในสภาพเช่นนี้ เพราะผู้ที่กฎหมายให้อำนาจวางบรรทัดฐานของสังคมไม่กล้าวางบรรทัดฐาน โดยกลัวจะถูกตำหนิต่อว่าจากสังคม คนหกสิบกว่าล้านคนจึงมาตรฐานหกสิบล้านมาตรฐาน สังคมจึงวุ่นวายไม่สงบสุข ดังที่เห็นๆ กันอยู่'

นายนิพิฏฐ์ จึงต้องการสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคมไทย โดยลงท้ายจดหมายว่า

'ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เห็นว่า ภาพยนตร์ Insects in the Backyard 'ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน' ห้ามฉายครับ!'

จดหมายชี้แจง นำไปสู่ข้อถกเถียงในสังคม ต่อความหมายของคำว่า 'ศีลธรรมอันดีของประชาชน' ขณะที่ 'ประชาชน' คนอื่นๆ เริ่มมีคำถามว่า พวกเขาในวัยที่สามารถเข้าคูหาเลือกตั้ง มีสิทธิเลือกชมภาพยนตร์ด้วยตัวเอง ได้หรือไม่

ปล. ผู้กุมอำนาจ และได้รับการยอมรับให้สามารถสร้างบรรทัดฐานตามแต่ใจตัวเอง จะด้วยความสมัครใจของพลเมืองคนอื่นๆในประเทศก็ดี ไม่สมัครใจก็ดี เคยกล่าวถึงสถานการณ์การ 'แบน' ภาพยนตร์ในเมืองไทยว่า 'ประเทศอื่นๆ เช่น 'จีน' มีการแบนหนังกันมากกว่าที่ประเทศไทยทำกันอยู่นี้ ไม่รู้กี่ร้อยเท่า'...

...เอวังด้วยประการฉะนี้





J